-
@ HereTong
2025-04-11 18:16:56วันนี้เรามาคุยกันเรื่องที่ว่า บรอกโคลี เข้าร่วมเส้นทางของความ fiat food ยังไงกันครับ
ในอดีตกาล เมล็ดพันธุ์เป็นของสาธารณะ เป็นมรดกของมนุษยชาติที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ต้นข้าว ต้นถั่ว ต้นผัก ล้วนเติบโตจากธรรมชาติ ผ่านมือของชาวนาอย่างเสรี ไม่มีใครเป็นเจ้าของมันได้ คนอินเดีย คนไทย คนแอฟริกัน ต่างมีเมล็ดพันธุ์ของตนเอง เหมือนมีภาษาท้องถิ่นที่เล่าขานกันรุ่นต่อรุ่น
แต่แล้ววันหนึ่ง โลกเข้าสู่ยุค “Fiat” เมื่ออุตสาหกรรมเกษตรข้ามชาติอย่าง Monsanto, Bayer, Syngenta และ DuPont รวมพลังกันเปลี่ยนสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็น “ทรัพย์สิน” เมล็ดพันธุ์ถูกจดสิทธิบัตร เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกใหม่ กลับกลายเป็น “อาชญากร”! โลกเปลี่ยนจากการปลูกเพื่อกิน สู่การปลูกเพื่อขึ้นศาล กฎหมายและสิทธิบัตรกลายเป็นเครื่องมือในการควบคุม บริษัทเหล่านี้ใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตรและสิทธิของผู้ปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeders' Rights) เพื่อควบคุมเมล็ดพันธุ์ กฎหมายเหล่านี้จำกัดสิทธิของเกษตรกรในการเก็บ ใช้ แลกเปลี่ยน หรือขายเมล็ดพันธุ์ของตนเอง
ปลูกอะไร? ปลูกหนี้? ชาวนาในอินเดียบางรัฐถึงกับฆ่าตัวตาย เพราะซื้อเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอที่มีสิทธิบัตรราคาแพงจากบริษัทเหล่านี้ พวกเขาไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ใช้ปีต่อไป ต้องซื้อใหม่ทุกปี บางครั้งซื้อแล้วปลูกไม่ได้ผล เพราะพันธุ์ไม่เหมาะกับภูมิอากาศของเขา แต่ก็ยังต้องจ่ายหนี้ จ่ายค่าปุ๋ย จ่ายค่าฆ่าแมลงที่บริษัทบอกว่าจำเป็นต่อเมล็ดของมัน ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้เดือดร้อนจากเรื่องนี้ มักบอกว่า ช่วยไม่ได้ไปเลือกซื้อของเขาเอง?
พูดให้เห็นภาพก็คือบริษัทเหล่านี้สร้างระบบแบบ “log in” เหมือนซอฟต์แวร์ ผูกเมล็ดพันธุ์เข้ากับเคมีภัณฑ์ ผูกเคมีเข้ากับกฎหมาย ผูกกฎหมายเข้ากับรัฐบาล และผูกรัฐบาลเข้ากับองค์กรโลกที่เห็น “ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นเพียงบรรทัดนึงของ account เราครับ
-ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกฤดูกาลเพราะถูกห้ามไม่ให้เก็บเมล็ดพันธุ์จากผลผลิตเดิม ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น -การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเน้นปลูกพืชสายพันธุ์เดียวกันทั่วโลกทำให้พืชท้องถิ่นและสายพันธุ์พื้นเมืองลดลง ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ -ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร การพึ่งพาเมล็ดพันธุ์จากบริษัทไม่กี่แห่งทำให้ระบบอาหารโลกเสี่ยงต่อการผันผวนของตลาดและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
บรอกโคลี กับการเป็น Fiat Food ในรูปแบบพืช เริ่มมาจากพืชตระกูลผักกาด เช่น บรอกโคลี กระหล่ำดอก คะน้า และกะหล่ำปลี ถูก “ปรับปรุงพันธุ์” โดยมนุษย์จากบรรพบุรุษเดียวกัน มัสตาร์ดป่า พวกมันไม่สามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ ต้องอาศัยโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะ และในบางกรณี ไม่มีเมล็ดเลย ต้องขยายพันธุ์โดย “Hybrid Sterility System” บริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จึงควบคุมได้หมด ใครจะปลูกต้องขออนุญาต ใครจะขายต้องผ่านระบบควบคุม
นั่นแหละ... เข้าคออนเสป Fiat Food ตัวจริง อาหารที่ดูเขียว ดูคลีน ดูดีต่อใจ แต่ไร้ “รากเหง้า” และถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจเหนือธรรมชาติอย่างจงใจ ไม่ใช่ของจากธรรมชาติ ไม่ใช่ของจากพระเจ้าแต่เป็นของจาก “วาระซ่อนเร้น” ที่ซ่อนอยู่ในแสงแฟลชของโฆษณาอาหารคลีน การประเคนข้อดีของความเป็น super food โดยไม่พูดถึงเหรียญอีกด้าน เหรียญด้านมืดของมัน
ดังนั้นก็เลยเกิดสมการ อธิปไตยของเมล็ดพันธุ์ = อิสรภาพของมนุษยชาติ การต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเกษตรกรรม แต่มันคือ “การเมืองของชีวิต” เพราะใครก็ตามที่ควบคุมเมล็ดพันธุ์ เขาคือผู้ควบคุมอาหาร และใครควบคุมอาหาร เขาคือผู้ควบคุมโลก การต่อสู้ก็เลยมีองค์กรอย่าง Navdanya ในอินเดีย หรือ La Via Campesina ในลาตินอเมริกา ที่ลุกขึ้นมาปกป้อง “สิทธิในการปลูกของมนุษย์” มีคนขนานนามว่าพวกเขาไม่ใช่นักเกษตร พวกเขาคือนักปฏิวัติ
ดร. วันทนา ศิวะ Vandana Shiva นักฟิสิกส์ชาวอินเดียผู้กลายมาเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและอาหาร ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเมล็ดพันธุ์พืชนวธัญญะ (Navdanya) ผู้ปกป้องพืชท้องถิ่นจากบริษัทข้ามชาติที่คิดจะเข้ามายึดประชาธิปไตยทางอาหารไปจากมือประชาชน คือตัวอย่างที่ชัดเจนคนหนึ่ง เจ้าของวลี “หากจะยึดครองประเทศจงยึดแหล่งน้ำมัน แต่หากต้องการยึดครองชีวิต จงยึดเมล็ดพันธุ์พืชของพวกเขา”
งานเขียนที่น่าสนใจของเธอคือ Earth Democracy: Justice, Sustainability and Peace ปี 2005 เป็นการออกมาตอบโต้ระบบทุนนิยม ที่มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้มีไว้ขาย เพื่อเก็งกำไร พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า หากผืนดินไม่ใช่ของมนุษย์ โลกไม่ได้เป็นสินทรัพย์ น้ำทุกหยด เมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดล้วนเป็นของธรรมชาติ ความคิดของบริษัทที่จะเข้ามาผูกขาดธรรมชาติเป็นสิ่งที่สมควรจริงหรือ
ดังนั้นสรุปๆกันจากที่ผมจั่วไว้ว่า บรอกโคลี อีกตัวแทนแห่ง fiat food นั้นคือประตูบานแรกที่ชักนำให้เราฉุกคิดถึงรูปแบบของ อาหารที่ปลอมตัวมาอยู่ในรูปแบบ real food โดยภาพร่างประมาณนี้ครับ เมล็ดพันธุ์พื้นเมือง เคยเป็นของสาธารณะ → ถูกบริษัท “แปรรูป” เป็นทรัพย์สิน การเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้ซ้ำ กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศ เกษตรกรกลายเป็นทาส ของระบบ “Fiat Seed” เหมือนเราทุกคนเป็นทาสของ “Fiat Money” บรอกโคลีและผักไฮบริดอื่นๆ คือตัวแทนของการควบคุมระบบอาหารผ่านสายพันธุ์ที่คนทั่วไปปลูกเองไม่ได้ ทางออกที่กลุ่มคนมีความหวังกับมันคือ Seed Sovereignty คืนสิทธิให้ชุมชน เก็บ แบ่ง แลก เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เองได้
การผูกขาดเมล็ดพันธุ์โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและความมั่นคงทางอาหารอย่างมาก การเคลื่อนไหวเพื่ออธิปไตยทางเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งจำเป็นในการปกป้องสิทธิของเกษตรกรและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชผลในอนาคต ใครกุมเมล็ดพันธุ์ คนนั้นกุมคอหอยมนุษย์ทั้งโลก
อ่านถึงตรงนี้แล้ว นึกถึงพืชอื่นอะไรอีกบ้าง? ทิ้งไว้ให้ตั้งคำถามกันต่อครับ ตอนต่อไปจะว่าด้วยเรื่องของ สนธิสัญญาและกฎหมายต่างๆครับ
แถมให้ดูคลิปการปลูก บรอกโคลี ครับ https://youtu.be/8ZNPTMIEFV8?si=SKZy
ผมเลือกคลิปที่ถ่ายโดย local ไม่ได้เป็น pr film โปรโมทองค์กรใดๆ เพื่อให้เห็นกระบวนการแท้ๆเลยนะครับส่วนคำถามที่ว่า แล้วจะกินอะไรได้ ตอบได้เลยว่า กินได้ทุกอย่างแหละครับ แต่ช่วยรู้ด้วยว่า อย่าไปคิดว่าอะไรเทพ อะไร superfood เลย โลกไม่ได้สวยงามขนาดนั้นครับ เราถึงพยายามชักชวนมาทำให้ local แข็งแรงไง
#PirateKeto #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก