-
@ HereTong
2025-04-30 02:51:3350by40 คืออีกโครงการนึงที่ขยายภาพรวมขึ้นมาอีก recap กันครับ (ใครที่มาเจอกลางทาง อาจต้องย้อนเยอะครับ ย้อนไปสัก ปลายเดือน มีนาคม 2025) หลังจากที่เราได้ดูส่วนเล็กกันมาหลายตอน ตั้งแต่เรื่องเล็กๆอย่าง น้ำมันมะกอกปลอม ซึ่งตอนนั้นหลายคนที่อ่านอาจคิดว่า ไกลตัวส่วนใหญ่ยังดีพอ แต่ความนัยที่ซ่อนไว้ในบทนั้นคือ จุดเริ่มของการทำลายความเชื่อใจในอาหาร , ที่มาของบรอกโคลีเพื่อให้รู้ว่า สิ่งที่คิดว่าธรรมชาติ มันไม่ธรรมชาติ, นมโอ้ต นมประดิษฐ์ที่เป็นจุดที่เราคิดว่ามันคือการพลิกวงการแล้ว, การแอบจดสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์ที่เคยปลูกกินอย่างอิสระ, การพัฒนา GMO 2.0 ที่ไม่ต้องเรียกว่า GMO, โปรตีนจากแลป มาจนถึงเวย์ที่ไม่มีวัว แล้วเราก็ขยายภาพขึ้นกับข้อกำหนดการควบคุมการปลูกพืช UPOV1991/CPTPP, การเข้าสู่โรงเรียน, การกำเนิดของ ProVeg แล้วเราก็ได้รู้จักกับ Sebastian Joy ก็ถือว่าเดินทางมา 1 ด่านแล้วครับ หนทางเรื่องนี้ยังอีกยาวไกล วันนี้เราก็มาคุยกันถึงเรื่อง
โครงการ 50by40
โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน ปี 2018 โดยมีการจัดการประชุม "50by40 Corporate Outreach Summit" ระหว่างวันที่ 27–29 เมษายน 2018 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดโดย ProVeg International ร่วมกับ Humane Society of the United States การประชุมนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพันธมิตรระดับโลกที่มีเป้าหมายร่วมกันในการลดการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลง 50% ภายในปี 2040
Sebastian Joy ผู้ก่อตั้งและประธานของ ProVeg International มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มโครงการ 50by40 โดยเขาได้ช่วยก่อตั้งพันธมิตรนี้เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลก นอกจากนี้ ProVeg International ยังมีบทบาทในการสนับสนุนองค์กรและสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารผ่านโปรแกรมต่างๆ
แม้ว่าโครงการ 50by40 จะประกาศเป้าหมายในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่เบื้องหลังยังมีการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลก โดยการส่งเสริม "อาหารที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเป็นหลัก"
โครงการนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้สนับสนุนทางการเงิน เช่น การจัดงาน Food Funders Circle ซึ่งเป็นเวทีสำหรับนักลงทุนที่สนใจในอาหารทางเลือก นอกจากนี้ โครงการ 50by40 ยังมีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรระดับนานาชาติ เช่น Greenpeace, WWF และ Compassion in World Farming ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ ProVeg International เองก็มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในองค์การสหประชาชาติ เช่น UNFCCC, IPCC และ CBD รวมถึงมีสถานะที่ปรึกษาพิเศษกับ ECOSOC และได้รับการรับรองจาก UNEA อีกด้วย ถ้ามองแค่เนทเวิร์คเบื้องต้นแล้ว วินาทีนี้ ตอบได้เลยครับว่า "อาหารที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเป็นหลัก" มาแน่นอนครับ มองข้ามความ plant based / animal based ได้เลย
เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ โครงการได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโรงเรียนและการผลักดันนโยบายสาธารณะ ผมจะลองแบ่งเป็นข้อๆให้เพื่อความสะดวกในการมองภาพรวมประมาณนี้นะครับ
การดำเนินงานในโรงเรียนและเยาวชน 1. Early Action Network โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง 50by40, ProVeg International และ Educated Choices Program โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการบริโภคอาหารจากพืชในกลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมเชิงโต้ตอบเกี่ยวกับสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์, การจัดแคมเปญในโรงเรียนและชุมชน, การเผยแพร่สื่อการเรียนรู้และโปรแกรมฝึกอบรม, การปรับปรุงเมนูอาหารในโรงเรียนให้มีทางเลือกจากพืชมากขึ้น
โครงการนี้มุ่งหวังที่จะสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- School Plates Programme ProVeg International ได้เปิดตัวโครงการ School Plates ในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2018 โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงเมนูอาหารในโรงเรียนให้มีความหลากหลายและสุขภาพดีขึ้นผ่านการเพิ่มทางเลือกอาหารจากพืช โครงการนี้ได้ร่วมมือกับโรงเรียน หน่วยงานท้องถิ่น และบริษัทจัดเลี้ยง เพื่อเปลี่ยนแปลงเมนูอาหารในโรงเรียนกว่า 3.1 ล้านมื้อจากอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นหลักไปเป็นอาหารจากพืช
สำหรับในส่วนของการผลักดันนโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมในเวทีนานาชาตินั้น ก็มีไม่น้อยครับ อาทิเช่น การมีส่วนร่วมในองค์การสหประชาชาติ ProVeg International มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในองค์การสหประชาชาติ เช่น UNFCCC และ UNEP และได้มีบทบาทในการผลักดันให้มีการรวมประเด็นเกี่ยวกับอาหารจากพืชในการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2022 ProVeg ได้เข้าร่วมการประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในสตอกโฮล์มและบอนน์ เพื่อส่งเสริมแนวคิด "Diet Change Not Climate Change" และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารสู่การบริโภคอาหารจากพืชมากขึ้น
การสนับสนุนเยาวชนในเวทีนานาชาติ ProVeg ได้จัดตั้ง Youth Board ซึ่งประกอบด้วยเยาวชนจากทั่วโลก เพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายด้านอาหารจากพืชในเวทีสหประชาชาติ และเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุม COP30 ที่จะจัดขึ้นในเบเลง ประเทศบราซิล
นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนองค์กรและสตาร์ทอัพที่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบบอาหารอีกมากมาย โดยที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือ โปรแกรม Kickstarting for Good ProVeg International ได้เปิดตัวโปรแกรม Kickstarting for Good ซึ่งเป็นโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งการเติบโตสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โครงการที่มีผลกระทบ และสตาร์ทอัพทางสังคมที่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร โปรแกรมนี้มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยมีการฝึกอบรมแบบเข้มข้น การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และโอกาสในการสร้างเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการที่มีศักยภาพในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์และส่งเสริมอาหารจากพืช
นอกจาก Sebastian Joy จะเริ่มต้นโครงการต่างๆมากมายไม่ว่าจะ ProVeg International, ProVeg Incubator, Kickstarting for Good แต่ก็ยังมี องค์กรพันธมิตรในเครือข่าย 50by40 ที่หลากหลาย เช่น Plant Powered Metro New York, Public Justice, Rainforest Alliance, Real Food Systems, Reducetarian Foundation, Rethink Your Food, SEED และ Seeding Sovereignty ซึ่งร่วมกันส่งเสริมการบริโภคอาหารจากพืชและการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แม้ว่าโครงการ 50by40 จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับบริษัทเอกชนรายใดที่แสดงการสนับสนุนโครงการนี้อย่างเปิดเผยครับ
ทีนี้เรามาดูความเคลื่อนไหวของลูกพี่ใหญ่อย่าง USDA กันบ้างนะครับ จากการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่า กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) มีการสนับสนุนโครงการ 50by40 อย่างเป็นทางการหรือเปิดเผย อย่างไรก็ตาม มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมโปรตีนทางเลือกและการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในระดับนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งอาจสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ 50by40 อยู่เช่นกันครับ
ในปี 2021 คณะกรรมาธิการด้านการเกษตรของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้สนับสนุนให้ USDA จัดสรรงบประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านโครงการ Agriculture and Food Research Initiative (AFRI) เพื่อสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับโปรตีนทางเลือก เช่น การใช้พืช การเพาะเลี้ยงเซลล์ และการหมัก เพื่อพัฒนาอาหารที่มีคุณสมบัติคล้ายเนื้อสัตว์
นอกจากนี้ USDA ได้ยอมรับคำว่า "cell-cultured" เป็นคำที่ใช้เรียกเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดมาตรฐานและการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนทางเลือก
แล้วกลุ่มองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น Center for Biological Diversity ได้ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เรียกร้องให้ USDA นำประเด็นการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ และปรับปรุงแนวทางโภชนาการแห่งชาติให้สอดคล้องกับเป้าหมาย "ด้านความยั่งยืน"
แม้ว่า USDA จะไม่ได้แสดงการสนับสนุนโครงการ 50by40 โดยตรง แต่มีความร่วมมือกับองค์กรที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกัน เช่น ProVeg International และ The Good Food Institute ซึ่งเป็นพันธมิตรในเครือข่ายของ 50by40 โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการบริโภคอาหารจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการและโปรตีนทางเลือก
อนาคตได้มีการขีด Goal ไว้ประมาณนี้ เรายังคิดว่าการที่ "แค่ไม่กินมัน" "ก็แค่เลือกกินอาหารธรรมชาติ" จะยังเป็นคำพูดที่เราพูดได้อีกไหม สิ่งนี้ก็ยังเป็นคำถามต่อไปครับ คงไม่มีใครสามารถตอบได้ใน วันนี้ (มั๊ง)
แต่ที่แน่ๆ มีคนไม่น้อยแล้วแหละครับ ที่บอกว่าอาหารจากแลปคุมในโรงงานที่สะอาด มันก็ดีนี่ สะอาดปลอดภัย ดีกว่าเนื้อหมูที่ผัดข้างทาง ล้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ เอาหมูแบบไหนมาก็ไม่รู้
มันดูเหมือนว่าเป็นการเปรียบเปรยแบบตรรกะวิบัตินะครับ แต่รอบตัวคุณ มีคนคิดแบบนี้เยอะไหม? เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบอีกเช่นกันครับ
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr