-

@ SOUP
2025-04-02 04:04:32
"ผลิตผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
เป็นประโยชน์กับทุกคนเสมอ
ไม่ว่าในทางใดก็ทางหนึ่ง"
เป็นโพสของอาจารย์พิริยะ ที่เรียกได้ว่าคือ
“หลักการพื้นฐาน” ของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
ที่หลายคนอาจหลงลืม และซุปอยากขยายความต่อ
เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ระบบที่แฟร์จริง”
.
เราถูกสอนให้คิดว่า ถ้ามีคนรวยขึ้น ต้องมีใครอีกคนจนลง แต่ในความเป็นจริง ระบบตลาดเสรีไม่ได้ทำงานแบบนั้นเลย เพราะเมื่อมีคนผลิตของที่ดีขึ้น ผลิตได้เร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง สินค้าที่เคยเข้าถึงยาก ก็เริ่มกลายเป็นของธรรมดาที่ใครก็ใช้ได้
.
คนหนึ่งคนที่ผลิตเพิ่มขึ้น อาจได้กำไรมากขึ้น แต่คนอีกเป็นล้านกลับได้ใช้สินค้าที่ถูกลง ชีวิตง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เห็นได้ชัดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ใช่เพราะมีใครต้อง "เสียสละจากการบังคับ" แต่เพราะทุกคนแลกเปลี่ยนกัน "ด้วยความสมัครใจ"
นี่คือหลักการที่เศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนเชื่อมั่นมาตลอด ว่าเสรีภาพในการผลิตและแลกเปลี่ยน คือรากฐานของความมั่งคั่งร่วมกัน "การแบ่งงานกันทำ" ของคนที่ถนัดต่างกัน คือวิธีที่มนุษย์สร้างสังคมเจริญขึ้นมาได้จริง ไม่ใช่เพราะรัฐสั่งให้ทำ แต่เพราะทุกคนเห็นประโยชน์ร่วมกันและยินดีแลกเปลี่ยนกันเอง
.
ปัญหาคือ วันนี้เราไม่ได้อยู่ในตลาดเสรีจริง
แต่เราอยู่ในระบบที่รัฐเข้ามาเขียนกติกา
ออกใบอนุญาต ควบคุมอุตสาหกรรม กำหนดราคา
และที่แย่คือการออกกฎที่เอื้อให้พวกพ้อง ทำให้บางคนได้เปรียบในตลาด โดยไม่ได้มาจากการผลิตเก่งหรือบริการดีแต่มาจากการมีสายสัมพันธ์กับอำนาจ (แบบนี้คือ ทุนนิยมพวกพ้อง)
.
แล้วคนทั่วไปที่เห็นภาพแบบนี้ ก็พากันเรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการ ทั้งที่จริงแล้ว...คนที่ควรรับผิดชอบ คือรัฐเอง ที่เปิดช่องให้เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก
.
เราจึงติดกับดักเดิมซ้ำๆ คือรัฐสร้างปัญหา แล้วใช้ปัญหานั้นเป็นข้ออ้างในการขยายอำนาจ
สุดท้ายมันก็ยิ่งบิดเบือนระบบเศรษฐกิจให้ผิดเพี้ยนเข้าไปอีก จนคนทำงานจริง ผลิตของจริง กลับไม่มีที่ยืนในระบบ
.
.
ให้เห็นภาพต่อว่า ถ้ามีคนผลิตมากขึ้น ทุกคนในระบบจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเสมอ ตราบใดที่
1 เขาไม่ได้ขโมยใคร
2 เขาแลกเปลี่ยนบนความสมัครใจ เท่านั้นยังไม่พอ
3 "เงิน" มันต้องเป็นกระจกสะท้อนคุณค่าจากการผลิต
ไม่ใช่เงินที่สร้างจากหนี้แล้วใช้กฎหมายยังคับว่ามันมีค่า
ถ้าเงื่อนไขสามข้อนี้ยังอยู่ครบ
ทุนนิยมตลาดเสรีที่แท้จริง ก็จะเป็นระบบที่ยั่งยืน
และแฟร์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์เรายังไม่เคยแยกอำนาจการเงินออกจากมือมนุษย์ได้เลย
เพราะถ้าเราปล่อยให้รัฐพิมพ์เงินได้อย่างอิสระ
ลดคุณค่าของเงินได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ
และแทรกแซงราคาตลาดโดยไม่มีการผลิตรองรับ
เมื่อถึงจุดนั้น ต่อให้เราผลิตเก่งแค่ไหน เราก็ไม่มีทางรวยขึ้น เพราะรางวัลไม่ได้แจกตามผลงาน
แต่แจกตามความใกล้ชิตผู้มีอำนาจ
เมื่อเงินเสื่อมค่าลงทุกวัน ข้าวของแพงขึ้น
เราต้องทำงานหนักขึ้น แต่ซื้อของได้น้อยลง
แล้วเราจะเริ่มถามตัวเองว่า
“เรากำลังทำงานสร้างคุณค่าจริงๆ
ขยันจนแทบไม่มีเวลาหายใจ
แต่สุดท้ายเรากำลังก้าวไปเดินหน้า
หรือแค่พยายามเอาตัวรอดในระบบที่ไม่ยุติธรรม”
และในวันนั้น...คุณอาจจะย้อนนึกถึงประโยคนี้
ที่อาจารย์เคยโพสแล้วอาจไม่ได้คิดว่ามันสำคัญ
ปล.วันนี้เราอาจเห็นต่างกันเรื่องบทบาทของรัฐ
แต่ซุปคิดว่าจุดร่วมของคำถามนี้คือ
ระบบเศรษฐกิจที่ดี ควรให้รางวัลกับผู้ผลิต
หรือให้รางวัลกับคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจ...
#Siamstr