-

@ SOUP
2025-04-01 04:20:50
“วิธีที่ดีที่สุดในการทำลายทุนนิยมคือทำลายค่าเงิน” Lenin Was Right
ประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำปลุกระดมของนักปฏิวัติ
แต่มันเป็นเหมือนสัญญาณเตือนล่วงหน้า
ที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ จนวันหนึ่งมันก็เกิดขึ้นจริง
แบบเงียบ ๆ โดยไม่มีใครทันตั้งตัว
Henry Hazlitt เขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1947
เขาไม่เพียงบอกว่าเลนินพูดถูก แต่เขาแฉว่าโลกทั้งใบ
“กำลังทำตามแผนของเลนิน” แบบไม่รู้ตัว
ตอนนั้นรัฐบาลหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป
พิมพ์เงินออกมาใช้มหาศาล โดยอ้างว่าสงครามบีบบังคับให้ต้องทำแบบนั้น
แต่ปัญหาคือ...พอสงครามจบในปี 1945 แล้ว
รัฐกลับไม่หยุดพิมพ์เงิน ยังทำเหมือนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน
เหมือนที่ อ. #SaifedeanAmmous พูดไว้ในหนังสือ #TheBitcoinStandard ว่าเวลารัฐอยากพิมพ์เงินแบบไม่ต้องรับผิดชอบ ก็แค่เอาสงครามมาอ้าง พอพูดว่า “เพื่อความมั่นคง” หรือ “เพื่อชาติ” เท่านั้นแหละ ทุกอย่างก็ดูเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมาทันที แล้วไม่มีใครกล้าถามว่าจริง ๆ แล้วเงินมันมาจากไหน
พอเงินเฟ้อมันแรง ของก็แพงขึ้น แต่รัฐไม่ยอมรับหรอกว่าที่ของแพงเพราะตัวเองพิมพ์เงินออกมาเยอะเกิน แต่กลับไปโทษพ่อค้า โทษคนทำธุรกิจ ว่าขายของแพง ค้ากำไรเกินควรซะงั้น
Hazlitt เขาเตือนว่า...รัฐกำลังทำให้คนเกลียดพ่อค้า เกลียดเจ้าของธุรกิจ เพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองมีเหตุผลที่จะเข้ามาคุมเศรษฐกิจ ซึ่งที่น่ากลัวคือ...
มันไม่ได้เกิดจากความไม่รู้ แต่มันเกิดจาก “ระบบ”
ที่เปิดช่องให้เขาทำแบบนี้ได้เลย
แบบไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งนั้น
ตรงนี้แหละที่ Hazlitt เอาคำพูดของ
John Maynard Keynes เข้ามาเสริม
เพราะแม้แต่ Keynes ก็ยังเคยเตือนไว้ในหนังสือ
The Economic Consequences of the Peace
ว่า “เงินเฟ้อ” มันเหมือนเครื่องมือเงียบ ๆ
ที่จะค่อย ๆ ทำลายระบบเศรษฐกิจ
โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว
Hazlitt เขาเป็น "สายวิจารณ์" Keynes ตัวพ่อเลยนะ
เขาเขียนหนังสือ The Failure of the New Economics ที่ไล่รื้อแนวคิดของ Keynes
แบบ “ตา-ต่อ-ตา หน้า-ต่อ-หน้า” กับหนังสือ
The General Theory ของ Keynes เลยนะ
แต่พอมาในบทความนี้...Hazlitt
กลับหยิบคำพูดของ Keynes มาใช้อย่างเต็มใจ
เพราะมันตรงเกินไปที่จะมองข้ามได้
ว่าแม้แต่ #Keynes เองยังเคยเตือนเลยว่า
“การทำลายค่าเงิน” คืออาวุธเงียบ
ที่ใช้ทำลายระบบทุนนิยมได้อย่างแนบเนียนที่สุด
.
.
พออ่านแล้วแบบ…แม้แต่คนที่เราคิดว่าเชียร์ฝั่งรัฐ
ยังเตือนเรื่องนี้ไว้ แล้วเราจะยังเฉยอยู่ได้ไง
คือถ้าเงินมันถูกทำให้ด้อยค่าลงเรื่อย ๆ
วันนึงมันจะพังแบบเงียบ ๆ จนคนไม่รู้ตัวเลย
คนทั่วไปจะรู้แค่ว่าของมันแพงขึ้น แต่ไม่มีใครเห็น
ว่าจริง ๆ แล้ว เงินที่เราใช้มันเริ่มไม่มีเสถียรภาพ
และไม่มั่นคงอีกต่อไปแล้ว
แล้วถ้ามองตัวเลขนี่ยิ่งช็อก
ระหว่างปี 1939 ถึง 1947 ในเวลาแค่ 8 ปี
ปริมาณเงินในระบบของสหรัฐฯ เพิ่มจาก
33,000 ล้านดอลลารเป็น 108,500 ล้านดอลลาร์
พูดง่าย ๆ คือ คูณสาม (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
Hazlitt พูดแบบตรง ๆ เลยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น
มันไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจโตหรือคนรวยขึ้นนะ
มันเกิดจากการที่รัฐเพิ่มปริมาณเงินในระบบเร็วเกินไป
เมื่อเงินในตลาดเลยเยอะขึ้น แต่ของที่มีให้ซื้อไม่ได้เยอะขึ้นตาม เมื่อเงินไหลเวียนมากขึ้น โดยที่ของยังมีเท่าเดิม ราคาของก็เลยพุ่ง
ทีนี้พอของขึ้นราคา รัฐบาลกลับไม่ยอมรับว่าเป็นเพราะเขาพิมพ์เงิน แต่ไปเลือกวิธีแก้แบบง่าย ๆ
แต่สร้างปัญหาในระยะยาว เช่น สั่งห้ามขึ้นราคา
กดดันคนทำธุรกิจให้แบกต้นทุนไว้ หรือไม่ก็ล็อกค่าเงิน เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
หลังจากนั้น เศรษฐกิจยุโรปก็เริ่มพัง ผู้ผลิตเจอต้นทุนบาน การค้าระหว่างประเทศก็รวน สุดท้ายก็ต้องพึ่งดอลลาร์จากอเมริกา (Marshall Aid) มาช่วยอุ้ม เหมือนพิมพ์เงินของตัวเองจนระบบรวน แล้วไปขอเงินจากฝั่งที่พิมพ์ได้มากกว่าอีกที
นี่แหละจุดเริ่มของ “วิกฤตเศรษฐกิจโลกหลังสงคราม”
ที่จริง ๆ แล้ว...ก็แค่เรื่องของการพิมพ์เงินล้วน ๆ
.
.
แต่นั้นมันเป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 1947 นะ...แล้ววันนี้ล่ะ
ล่าสุด ปี 2020 ก่อนโควิด ระดับ M2 money supply ของสหรัฐอยู่ราว ๆ 15 ล้านล้านดอลลาร์ แค่ไม่กี่ปีต่อมา มันทะลุไปถึง 21 ล้านล้าน ในเวลาไม่ถึง 3 ปีเงินเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์
แล้วของก็แพงขึ้น ค่าแรงวิ่งตามไม่ทัน
แต่แทนที่รัฐจะบอกว่า “เราพิมพ์เงินมากไป”
ก็ไปเล่นมุกเดิม โทษตลาด โทษนายทุน โทษธุรกิจ
(บ้างก็โทษโลกร้อน)
สุดท้ายก็จะมีคนบางกลุ่มเชียร์ให้ “ควบคุมราคา” อีก
มันคือ loop เดิม ที่ #Hazlitt เคยเตือนไว้
เมื่อเกือบ 80 ปีก่อน..
.
.
สิ่งที่ซุปเห็นชัดเจนที่สุดจากบทความนี้คือ...
เกมนี้มันไม่มีใครหยุดได้เลย
ถ้าคุณยังถือเงินที่รัฐพิมพ์ได้
เพราะตราบใดที่ยังมีคนสั่งพิมพ์เงินได้ตามใจ
ระบบเศรษฐกิจก็จะปั่นป่วนซ้ำไปซ้ำมา
ของก็จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ แบบไม่มีจุดจบ
คุณก็จะต้องเหนื่อยทำงานมากขึ้น
แต่ซื้อได้น้อยลง แล้วคุณก็จะโทษตัวเอง
ว่ายังขยันไม่มากพอ ทั้ง ๆ ที่คุณทำงาน 4-5 อย่าง
.
เลนิน พูดถูก ถ้าจะทำลายทุนนิยม ก็แค่ทำลายค่าเงิน
ฟังดูแรงเนอะ...แต่เรื่องนี้มันไม่ใช่แค่ทฤษฎีแล้ว
เพราะเรากำลังเห็น ว่ามันกำลังเกิดขึ้นอยู่จริง ๆ
แต่วันนี้ เราเลือกที่จะไม่อยู่ในเกมที่พังซ้ำๆ ได้แล้ว
เพราะเรามี “ทางออก” อยู่ตรงหน้า
บิตคอยน์ ไม่ใช่อะไรที่ทุกคนจะเข้าใจมันได้ทันที
แต่มันคือ “เงิน” ที่ไม่มีใครพิมพ์เพิ่มได้ตามใจ
ไม่มีใครมานั่งกดปุ่มสร้างมันขึ้นมาได้ง่าย ๆ
ไม่มีใครเปลี่ยนกติกากลางเกมได้
และไม่มีใครแทรกแซงนโยบายของมันได้
สิ่งเดียวที่ #บิตคอยน์ บอกเราตรง ๆ ก็คือ
“ความขาดแคลน” ไม่ใช่ปัญหา...
สิ่งที่ Hazlitt เตือนเมื่ออดีต
คือกับดักของเงินไม่มีขอบเขต
สิ่งที่ #Bitcoin เสนอ
คือขอบเขตที่ทำให้ “มูลค่า” กลับมามีความหมาย
[Newsweek column from September 22, 1947, and reprinted in Business Tides: The Newsweek Era of Henry Hazlitt.] https://mises.org/mises-wire/lenin-was-right
#Siamstr