-
@ HereTong
2025-04-28 01:40:46ในวันที่ "วีแกนแบบ non natural" กลายเป็นเทรนด์ระดับโลก แต่การขาดวิตามิน B12 ยังคงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ชาวพืชล้วนหลายคนต้องหาวิธีเสริม เพื่อไม่ให้เสียหน้า Sebastian Joy ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว "ยาสีฟันเสริมวิตามิน B12" ชิ้นแรกของโลก พร้อมงานวิจัยรองรับจาก IFANE (Institute for Alternative and Sustainable Nutrition) ว่ามันเวิร์กจริง…อย่างน้อยในห้องทดลอง
แล้วมันคืออะไร? แหล่งที่มาของวิตามิน B12 ในนั้นมาจากไหน? วิตามิน B12 ที่ใช้ในยาสีฟันนี้ เป็นสิ่งที่เรียกว่า "ไซยาโนโคบาลามิน" (Cyanocobalamin) ซึ่งเป็นรูปแบบสังเคราะห์ที่ราคาถูก ผลิตจากแบคทีเรียในห้องแล็บ ไม่ใช่ B12 ที่ได้จากอาหารธรรมชาติ เช่น ตับวัว หรือไข่ไก่แบบที่ร่างกายวิวัฒนาการมาใช้หลายแสนปี
พูดง่าย ๆ คือ มันคือ "วิตามินโรงงาน" ไม่ใช่วิตามินที่มาพร้อมสารอาหารซับซ้อนอื่น ๆ ที่ธรรมชาติใส่มาให้ (เช่น โคแฟกเตอร์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้ดูดซึมได้ดีขึ้น) ซึ่งการใช้วิตามินสังเคราะห์ต่อเนื่องนาน ๆ มีรายงานบางชิ้นที่แอบกระซิบว่า อาจไปก่อให้เกิดอนุมูลอิสระหรือความเครียดออกซิเดชันในร่างกายได้
โดสต่อครั้งเท่าไร? ใช้แค่แปรงฟันพอจริงหรือ? ข้อมูลที่มีอยู่บอกว่า ยาสีฟันของ Sebastian ใส่วิตามิน B12 ประมาณ 100 ไมโครกรัม ต่อการแปรงฟันหนึ่งครั้ง ซึ่งหากแปรงวันละสองครั้ง ก็จะได้ราว 200 ไมโครกรัมต่อวัน ถือว่าเกินค่า RDA (ปริมาณที่แนะนำ) ที่อยู่แค่ประมาณ 2.4 ไมโครกรัม ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ธรรมดาไปหลายสิบเท่า! แต่…เขาก็อ้างว่าวิตามินที่แปรงลงไป มีสัดส่วนการดูดซึมจริงๆ "แค่บางส่วน" เพราะฉะนั้นการให้โดสสูงมาก จึงถือว่า "ปลอดภัย" ในมุมมองของพวกเขา
ถ้าได้รับมากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น? ในระยะสั้น วิตามิน B12 เป็นวิตามินละลายน้ำ ถ้าเกินความต้องการร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก แต่ในระยะยาว งานวิจัยบางชิ้นพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับ B12 ที่สูงผิดปกติในเลือด กับการก่อภาวะ oxidative stress ที่ทำให้เซลล์ถูกทำลายเร็วขึ้นและอย่าตัว ไซยาโนโคบาลามิน เมื่อร่างกายเอาไปแปลงเป็นแบบ active (Methylcobalamin หรือ Adenosylcobalamin) จะปล่อย "ไซยาไนด์" จิ๋วๆออกมานิดหน่อยด้วยนะ ถึงจะน้อยมากจนไม่ก่อพิษทันที แต่ถ้าเป็นคนที่มีกำจัดไซยาไนด์ได้ไม่ดี เช่น คนที่มีปัญหาเมตาบอลิซึมผิดปกติ ก็มีความเสี่ยงสะสมได้เช่นกัน
ต่างกับ B12 ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติ (เช่น ตับ ไข่แดง ปลาซาร์ดีน เนื้อวัว) ส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบ Methylcobalamin และ Adenosylcobalamin อยู่แล้ว คือมาแบบ Active form พร้อมใช้ ไม่ต้องเปลี่ยนสภาพอะไรเพิ่มเติมในร่างกาย ไม่มีการปล่อย "ไซยาไนด์" เพราะไม่ต้องแปลงจากไซยาโนโคบาลามินเหมือนวิตามินสังเคราะห์ที่เอาไปใส่ในยาสีฟันหรืออาหารเสริม แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรขนาดนั้นครับ ไม่ใช่ประเด็นอะไรมากมาย ข้ามไปได้ถ้าไม่กังวลเพราะแค่นี้หลายคนก็จี๊ดใจหูหักกันไปเยอะแล้ว โอเคข้าม point ยิบย่อยไปครับ
ที่นำมาคุยกันก็แค่เหตุผลที่ว่า "ยาสีฟันตัวนี้ เป็นสินค้านำร่อง" ที่ผลักดันชื่อของ Sebastian Joy เป็นจุดเริ่มต้นของอะไรหลายๆอย่าง ที่จะเล่าให้ในตอนต่อไปครับ
อ่อแล้วยาสีฟันนี้มีแผนบังคับใช้ในอนาคตมีไหม? ตัวยาสีฟันเองน่าจะเป็นการพูดถึงในกลุ่มวีแกนได้ดี นอกจากนี้ให้สังเกตว่า ProVeg และเครือข่ายของเขา ผลักดันแนวคิด keyword ที่ว่า "ถ้าคุณกินพืช คุณต้องเสริม B12" อย่างหนักมากและมีการเสนอว่าการผลิตอาหารจากพืชเชิงอุตสาหกรรมควร "fortify" หรือ "เสริมวิตามิน" เป็นมาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาว่า "อาหารพืชทำให้ขาดสารอาหาร" ตรงนี้คือจุดน่าสนใจ ในแผนระยะยาว ถ้าสังคมยอมรับแนวคิดนี้ได้ การที่สินค้าจากพืชเสริมวิตามินแบบ "บังคับ" อาจกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอำนาจให้กลุ่มบริษัทผลิตวิตามินสังเคราะห์รายใหญ่ที่ใช้การเพาะเชื้อแบคทีเรียจำเพาะ อยู่เบื้องหลัง เป็นเศรษฐกิจแบบ "สารอาหารที่มนุษย์สร้างขึ้น" ที่เราอาจต้องออกมานั่งน้ำตาคลอริมทุ่งอีกหลายรอบ จำได้ไหมครับกระบวนการใช้การเพาะเชื้อแบคทีเรียจำเพาะ จุดต่างๆที่ผมไล่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ เริ่มนำมาขีดเส้นเข้าหากันได้บ้างแล้ว (ใครที่งง ผมคงต้องบอกว่า งานนี้ยาวครับ ผมโพสทุก 8.00 มาร่วมเดือนแล้ว ต้องขยันย้อนแล้วหละครับ)
เพราะโลกแห่งความเป็นจริง จะ animal หรือ plant ก็ตามขอให้เป็นของธรรมชาติ และได้รับการ "เลือก" โดยผู้คนว่าจะกินอะไร ไม่ใช่การเดินสู่ช่อง "สิ้นสุดทางเลือก"
เลิกเถียงเรื่องการใช้ไดเอท แล้วมาร่วมกันมองข้างหน้าว่า คุณจะยังมีสิทธิ์เลือกอะไรได้อีกไหม ก่อนวันนั้นจะมาถึงครับ
ปล. เสริมเรื่องนี้ให้เผื่อใครจะสนใจไปค้นต่อนะครับ Cyanocobalamin เป็น B12 รูปแบบที่เสถียรที่สุดและราคาถูกที่สุดในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพราะมันไม่สลายง่ายเมื่อเจอแสงหรือออกซิเจน การผลิตจะใช้การเพาะเชื้อแบคทีเรียจำเพาะ (เช่น Propionibacterium freudenreichii หรือ Pseudomonas denitrificans) ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม หรือควบคุมสภาพการผลิตในไบโอรีแอคเตอร์ขนาดใหญ่
Cyanocobalamin จะปล่อยไซยาไนด์ประมาณ 1 โมเลกุลต่อ 1 โมเลกุล B12 ที่ถูกแปลง ซึ่งโดยปกติร่างกายดีท็อกซ์ได้ถ้าได้รับปริมาณน้อย แต่สำหรับคนที่มีภาวะการดีท็อกซ์บกพร่อง เช่น คนที่มีปัญหา MTHFR mutation หรือโรคไตเรื้อรัง อาจเป็นเรื่องที่ต้องระวัง
วิตามิน B12 จากตับวัว, ไข่, หรือปลา เช่น แซลมอน จะมาในฟอร์ม active อยู่แล้ว เช่น Methylcobalamin หรือ Adenosylcobalamin ไม่ต้องเสียพลังงานหรือเสี่ยงปล่อยไซยาไนด์ #pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr