-
@ HereTong
2025-04-26 03:11:37หลังจากที่เราได้ทราบถึงโครงการ School Plates กันไปแล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ ProVeg ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรเจค School Plates กันครับ
ProVeg International เส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลก
ProVeg International เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 โดยมีเป้าหมายหลักในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลง 50% ภายในปี 2040 และแทนที่ด้วยอาหารจากพืชและอาหารที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
องค์กรนี้มีจุดเริ่มต้นจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรด้านอาหารจากพืชในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี (ProVeg Deutschland), เนเธอร์แลนด์ (ProVeg Nederland ซึ่งเดิมคือ Viva Las Vega's), โปแลนด์, สหราชอาณาจักร และสเปน โดยมี Sebastian Joy เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานคนแรกขององค์กร
ProVeg International มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลกผ่านการให้ข้อมูล การสนับสนุน และการรณรงค์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารจากพืช องค์กรทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล บริษัทเอกชน นักลงทุน สื่อมวลชน และสาธารณชน เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับระบบ
โครงการที่เริ่มไปแล้ว ProVeg Incubator หนึ่งในโครงการที่สำคัญของ ProVeg คือ "ProVeg Incubator" ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านอาหารจากพืชและอาหารที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยให้การสนับสนุนทั้งด้านเงินทุน การให้คำปรึกษา และเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าสู่ตลาด
ตั้งแต่เปิดตัวในปี 2018 ProVeg Incubator ได้สนับสนุนสตาร์ทอัพกว่า 40 รายจาก 20 ประเทศ ช่วยให้พวกเขาระดมทุนได้มากกว่า 8 ล้านยูโร และเปิดตัวผลิตภัณฑ์กว่า 40 รายการ
สำหรับความพยายามในการล็อบบี้ นั้น ProVeg International มีบทบาทสำคัญในการล็อบบี้เพื่อส่งเสริมอาหารจากพืชในระดับนโยบาย โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป ตัวอย่างผลงานที่โด่งดังมากคือ
"การต่อต้านการห้ามใช้ชื่อผลิตภัณฑ์จากพืช" ในเดือนพฤษภาคม 2019 คณะกรรมาธิการการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Committee on Agriculture and Rural Development) ของรัฐสภายุโรปได้เสนอการแก้ไขในหมวด - Amendment 165 ซึ่งจะห้ามใช้ชื่อที่สื่อถึงเนื้อสัตว์ กับผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช (เช่น “vegetarian sausage”, “soy schnitzel” ฯลฯ) และ - Amendment 171 ซึ่งจะขยายไปถึงผลิตภัณฑ์ทดแทนผลิตภัณฑ์นม (เช่น “yoghurt-style”, “vegan cheese”, “almond milk”) โดยทั้งหมดนี้ใช้เหตุผลว่าอาจทำให้ผู้บริโภคสับสน
ProVeg International ร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เช่น IKEA และ Compassion in World Farming และบริษัทผู้ผลิตนมจากพืชอย่าง "Oatly" ได้รณรงค์ต่อต้านข้อเสนอเหล่านี้ รวมถึงการยื่นจดหมายถึงสมาชิกรัฐสภายุโรปและการจัดทำคำร้องออนไลน์ ซึ่งได้รับลายเซ็นมากกว่า 150,000 รายชื่อภายในเวลาไม่กี่วัน
ผลการโหวตวันที่ 23 ตุลาคม 2020 รัฐสภายุโรปลงมติ ปฏิเสธ Amendment 165 และไม่ยอมรับข้อเสนอห้ามใช้คำว่า “burger” “sausages” ในผลิตภัณฑ์จากพืช ส่วน Amendment 171 ถูกเลื่อนออกไป และสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 ก็ถูกถอนออกจากการพิจารณา (withdrawn) อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นชัยชนะของขบวนการ “stop plant-based censorship”
พูดง่ายๆคือ ProVeg International ต่อต้านการห้ามใช้ชื่อผลิตภัณฑ์จากพืชทั้งสองฉบับ (165 และ 171) ประสบความสำเร็จทั้งหมด !!!!!!
"การเรียกร้องแผนปฏิบัติการอาหารจากพืชของสหภาพยุโรป" ในปี 2023 ProVeg International ร่วมกับองค์กรกว่า 130 แห่ง เรียกร้องให้สหภาพยุโรปจัดทำแผนปฏิบัติการอาหารจากพืชภายในปี 2026 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารสู่ความยั่งยืน
นอกจากนี้ ProVeg ยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ถาวรจากกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) รวมถึง ProVeg ได้รับรางวัล United Nations' Momentum for Change Award และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานอาหารและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของ UN และเป็นสมาชิกของศูนย์และเครือข่ายเทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ (CTCN)
ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการดำเนินงานที่ครอบคลุม ProVeg International ได้กลายเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลก
ในส่วนของสตาร์ทอัพภายใต้การสนับสนุนของ ProVeg Incubator ได้สนับสนุนสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมและศักยภาพสูงหลายราย เช่น Formo: บริษัทจากเยอรมนีที่ผลิตชีสจากการหมักจุลินทรีย์ (precision fermentation) โดยไม่ใช้สัตว์ Remilk: บริษัทจากอิสราเอลที่ผลิตนมจากการหมักจุลินทรีย์ โดยไม่ใช้วัว Cultimate Foods: บริษัทที่พัฒนาไขมันจากเซลล์สัตว์เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์จากพืช Infinite Roots: บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงไมซีเลียม (mycelium) เพื่อผลิตโปรตีนทางเลือก Kern Tec: บริษัทที่ใช้เมล็ดผลไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมอาหารเพื่อผลิตน้ำมันและโปรตีน
และยังมีอีกร่วมๆ กว่า 40 รายจาก 20 ประเทศ ที่เป็นกองกำลังสำคัญในการพัฒนาอาหารอนาคตให้กับ ProVeg เพื่อขยายปีกในการครอบครองตลาดนี้เพื่อความยั่งยืน(ของใคร?)
คำถามที่น่าสนใจ ใครคือ Sebastian Joy ทำไมเขาสร้างองค์กรมาได้ขนาดนี้ Sebastian Joy เป็นคนเยอรมันครับ เขาไม่ใช่แค่คนที่สนใจอาหารจากพืชเฉย ๆ แต่เขาเป็นนักคิด นักเคลื่อนไหว และนักเชื่อมโยงระดับอินเตอร์ฯ ที่เปลี่ยนจากการรณรงค์เฉพาะกลุ่ม ไปสู่การสร้าง "ระบบนิเวศ" ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินระดับโลกได้อย่างจริงจัง
ในเว็บไซต์ส่วนตัวของ Sebastian Joy ได้ขึ้นประโยคแรกว่าเขาเป็น Serial Social Entrepreneur working to transform the global food system
นั่นหมายถึงว่า ในโลกที่อาหารกลายเป็นเครื่องมือทางอำนาจ และแนวคิด "กินดีเพื่อโลก" ถูกผลักดันอย่างแข็งขันผ่านโครงการระดับโลก หนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่อยู่เบื้องหลังกระแสนี้คือชายชื่อ Sebastian Joy ผู้ซึ่งไม่ได้เพียงเป็นนักเคลื่อนไหว แต่เป็น Serial Social Entrepreneur หรือ นักสร้างสรรค์องค์กรเพื่อสังคมต่อเนื่อง ที่มีวิสัยทัศน์ใหญ่ เปลี่ยนระบบอาหารของโลกทั้งใบ
ตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา Sebastian ไม่ได้เพียงแค่เปิดองค์กรหรือรณรงค์ทั่วไป แต่เขาเป็นผู้ผลักดันการถือกำเนิดขององค์กรไม่แสวงกำไร โครงการเร่งรัดธุรกิจเพื่อสังคม แพลตฟอร์มความร่วมมือ และเวทีระดับนานาชาติหลายสิบแห่งที่เกี่ยวกับอาหารจากพืช เขาคือผู้ก่อตั้งและประธานของ ProVeg International องค์กรที่อ้างว่าเป็น "องค์กรชั้นนำของโลกด้านความตระหนักเรื่องอาหาร" โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลงอย่างเป็นระบบ
แต่บทบาทของเขาไม่ได้หยุดแค่การปลุกกระแสสุขภาพ เขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังงานแสดงสินค้า VeggieWorld ซึ่งกลายเป็นซีรีส์มหกรรมอาหารวีแกนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังร่วมก่อตั้ง Animal and Vegan Advocacy Summit เวทีระดับนานาชาติสำหรับนักเคลื่อนไหวสายวีแกน
Sebastian ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง incubator แห่งแรกของโลก สำหรับสตาร์ทอัพที่ทำอาหารจากพืชและเนื้อเพาะเลี้ยง และเป็นผู้ผลักดันโปรแกรม Kickstarting for Good ที่เน้นเร่งรัดองค์กรไม่แสวงกำไรให้เดินเกมได้เร็วขึ้นด้วยโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ เขายังเป็นพาร์ตเนอร์ของ V-Label International (ฉลากมังสวิรัติที่มีอิทธิพลที่สุดในยุโรป), เป็นเมนเทอร์ในโครงการ Charity Entrepreneurship, และอดีตอาจารย์ด้าน Social Entrepreneurship ที่ Berlin School of Economics and Law
ผลงานของเขาและองค์กรได้รับรางวัลระดับนานาชาติหลายรายการ รวมถึงรางวัล Momentum for Change จากสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันว่า "แผนปฏิบัติการเปลี่ยนโลกผ่านจานอาหาร" ของเขาไม่ได้เป็นเพียงอุดมคติ แต่เป็นแผนที่กำลังถูกปักหมุดทั่วโลก
ย้อนกลับไปก่อนปี 2017 Sebastian เป็นผู้อำนวยการของ VEBU ซึ่งเป็นองค์กรอาหารจากพืชที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี (VEBU ย่อมาจาก Vegetarierbund Deutschland) และเขาเองก็อยู่ในวงการนี้มาตั้งแต่ยุคที่การกิน plant-based ยังถูกมองว่าเป็นเรื่อง fringe หรือนอกกระแสเลยด้วยซ้ำ
เหตุผลที่เขาเริ่ม ProVeg International แล้วมัน “ไปไกล” ได้ ผมขมวดให้เป็นข้อๆเพื่อความง่ายต่อการเข้าใจประมาณนี้ครับ
-
Sebastian ไม่ใช่แค่นักกิจกรรม เขาคือนักกลยุทธ์ เขาไม่พอใจแค่การแจกโบรชัวร์หรือชวนคนงดเนื้อวันจันทร์ (จำตัวนี้ไว้ดีๆนะครับ จะมาเล่าภายหลัง) แต่เขามองระดับ “ระบบ” มองว่าโครงสร้างใหญ่ของ นโยบาย สื่อ เศรษฐกิจ การลงทุน มหาวิทยาลัย และซัพพลายเชนอาหาร ล้วนต้องเปลี่ยนไปพร้อมกัน เขาเลยสร้าง ProVeg ขึ้นมาเป็น “แพลตฟอร์มเปลี่ยนแปลงระบบ” ไม่ใช่แค่องค์กร NGO ธรรมดา
-
เขาสร้างพันธมิตรเก่ง Sebastian มีวิธีคุยกับนักลงทุนได้ เข้าใจ startup ได้ คุยกับผู้กำหนดนโยบาย EU ได้ และคุยกับผู้บริโภคได้ด้วย เรียกว่าพูดได้หลายภาษา (ทั้งภาษาคนและภาษายุทธศาสตร์) ทำให้ ProVeg ขยับตัวแบบ agile มาก และข้ามพรมแดนได้ไว ลงลึกถึงจิตใจเหล่า startup ได้แบบพวกเดียวกัน เป็นสตีฟ จ็อบส์ ที่เฟรนด์ลี่ เลยอ่ะ
-
มองอาหารจากพืชเป็น “โอกาส” ไม่ใช่ “การเสียสละ” แนวคิดที่เขาผลักดันคือ “ทำยังไงให้การกิน plant-based เป็นเรื่องสนุก มีรสชาติ มีนวัตกรรม และทำให้คนทั่วไปเลือกโดยไม่รู้สึกว่ากำลังงดของอร่อย ทำให้คนเลือกโดยที่ไม่รู้ตัวว่าถูกกำหนดเส้นทางให้เลือก” เขาจึงให้ความสำคัญกับ startup สายอาหารและเทคโนโลยีอาหารมาก มากจนกลายมาเป็นโครงการ ProVeg Incubator กองกำลังอาหารอนาคต นั่นแหละครับ
คำพูดหนึ่งของ Sebastian ที่ถูกนำมากล่าวถึงบ่อยๆคือ It’s easy to judge the mistakes of parents or grandparents, but what are going to be the mistakes that our future grandchildren will judge us by?
เขาไม่ได้ต้องการแค่ทำให้มี “เบอร์เกอร์ที่ไม่มีเนื้อ” แต่เขาต้องการเปลี่ยนทั้งระบบอาหารให้สะท้อนค่านิยมใหม่ เหมือนที่มีการพยายามจะสะท้อนมูฟนี้ไว้ว่า
“They are not just replacing products. They are building a food system that reflects their values.”
และวิศัยทัศน์ซึ่งเขาได้อธิบายถึงแนวทางของ ProVeg ว่าไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องสวัสดิภาพสัตว์เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโดยรวม เพื่อประโยชน์ต่อรสชาติ สุขภาพ ความยุติธรรม สัตว์ และสิ่งแวดล้อม We don’t frame ourselves as an animal charity but as a food awareness organisation. And we follow what we call the ‘five pros’: pro-taste, pro-health, pro-justice, pro-animals and pro-environment
เป็น 5 Pro ที่ต้องจับตามองเสียแล้วครับ
อย่างที่บอกครับว่า มันเกิดขึ้นไปแล้ว และ 2 คำพูดที่เราเคยพูดไว้เราจะยังคงยืนยันได้ตามนั้นไหม "คงโชคดีที่ตายก่อนวันนั้น" และ "ก็แค่เลือกไม่กิน" น่าคิดแล้วครับ
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr
-