-
@ HereTong
2025-04-13 01:38:46อะไรคือ Heliotherapy
ถ้าลองหลับตา แล้วนึกถึงคนยุโรปยุคต้นศตวรรษที่ 20 ที่กำลังนอนอาบแดดบนภูเขา ห่มผ้าขนหนูบาง ๆ เปิดผิวให้พระอาทิตย์ลูบไล้ เฮียกำลังนึกถึงภาพของการรักษาโรคอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Heliotherapy หรือ การบำบัดด้วยแสงอาทิตย์ ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในศาสตร์ทางการแพทย์ที่ถูกยอมรับอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะในยุคที่ยังไม่มี “ยาปฏิชีวนะ”
Heliotherapy ไม่ได้เกิดจากความงมงาย แต่จากหลักฐานจริงจัง โดยเฉพาะผลงานของ ดร.ออกุสต์ โรลเลอร์ (Dr. Auguste Rollier) แพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้บุกเบิกการใช้แสงแดดรักษาผู้ป่วยวัณโรคกระดูกอย่างได้ผลในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เขาก่อตั้ง “โรงพยาบาลแห่งแสงอาทิตย์” บนเทือกเขาแอลป์ โดยให้ผู้ป่วยขึ้นไปอยู่ในที่สูงกว่า 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แล้วเปิดรับแสงแดดอย่างเป็นระบบ
ที่น่าสนใจคือ โรลเลอร์มีข้อกำหนดชัดเจนว่า ห้ามผู้ป่วยใส่แว่นกันแดดเด็ดขาด เพราะ “ดวงตา” คือหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่ต้องรับรังสี UV เพื่อนำข้อมูลไปกระตุ้นต่อมไพเนียลในสมอง ส่งผลต่อวงจรชีวภาพ ฮอร์โมน และระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมด ถ้าเราอาบแดดแต่ใส่แว่นดำ เท่ากับปิดประตูสำคัญของระบบบำบัดจากธรรมชาติ
แต่ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นอีกนิด เราจะเจอ “ต้นฉบับของแนวคิดแสงบำบัด” อยู่ที่ ดร.นีลส์ ฟินเซน (Dr. Niels Ryberg Finsen) นายแพทย์ชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1903 จากการใช้แสงสว่างในการรักษาโรค Lupus vulgaris ซึ่งเป็นวัณโรคชนิดเรื้อรังที่แสดงออกบนผิวหนัง โดยเขาออกแบบอุปกรณ์ “Finsen Lamp” เพื่อฉายแสงตรงเข้าไปรักษาเซลล์ผิวโดยเฉพาะ และถือเป็นบิดาแห่ง Phototherapy ยุคใหม่
ทำไมแค่ “แดด” ถึงมีฤทธิ์บำบัด? แสงแดดคือคลังยาแห่งธรรมชาติอย่างแท้จริง เพราะประกอบด้วยรังสี UV หลายชนิด โดยเฉพาะ UVB ที่กระตุ้นให้ผิวหนังสร้าง วิตามินดี (Vitamin D3) ซึ่งมีบทบาทเสมือนฮอร์โมนที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบ และการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียมและแมกนีเซียม
แต่แดดไม่ได้มีแค่ UV แสงแดดในช่วงเช้ายังเต็มไปด้วยคลื่นแสงสีแดงและอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared Light) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมไมโทคอนเดรีย—the powerhouse of the cell และช่วยกระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์ในหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ความดันสมดุลขึ้น และฟื้นฟูอวัยวะลึก ๆ ได้อย่างเงียบ ๆ
พูดง่าย ๆ คือ แดดเช้า = เติมแบตชีวภาพ ยิ่งแสงอาทิตย์กระทบผิวเราผ่าน “ดวงตาเปล่า” (โดยไม่ใส่แว่นกันแดดในช่วงเช้า) ก็ยิ่งช่วย “รีเซ็ตนาฬิกาชีวภาพ” ให้เราตื่นตรงเวลา หลับลึกขึ้น และเพิ่มการหลั่งเมลาโทนินในตอนค่ำโดยอัตโนมัติ
ในโลกที่คนวิ่งหาฮอร์โมนจากขวด การนอนตากแดด 10–20 นาทีต่อวัน กลับกลายเป็นเวทมนตร์ราคาถูกที่เรามองข้าม
และงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) ประเทศสกอตแลนด์ ก็ได้ยืนยันว่า แสงแดดมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งวิตามินดีเลยด้วยซ้ำ เพราะเมื่อแสงยูวีจากดวงอาทิตย์สัมผัสผิวหนัง จะกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อย “ไนตริกออกไซด์” (Nitric Oxide) จากชั้นผิวเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง และลดความเสี่ยงโรคหัวใจอย่างเห็นผล
นี่แปลว่าแสงแดดไม่เพียงแค่สว่าง แต่มันกำลัง “พูดภาษาเคมี” กับร่างกายเราอย่างเงียบ ๆ ทุกเช้า
ในยุคที่การแพทย์พัฒนาไปสุดทาง เทคโนโลยีผ่าตัดทำได้ถึงระดับนาโนเมตร กลับมีหมอบางคนหันกลับมาบอกว่า “คุณแค่ต้องออกไปรับแดดเช้า” เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว ดีไหมหล่ะ แต่ขอโทษทีคุณหมอที่บอกให้ไปตากแดดช่างมีน้อยเหลือเกินเมื่อดูในภาพรวม
Heliotherapy จึงไม่ใช่แค่การอาบแดด แต่คือการกลับไปเชื่อมโยงกับวงจรธรรมชาติ เหมือนคนโบราณที่เคารพดวงอาทิตย์ เพราะเขารู้ว่าพระอาทิตย์ไม่เคยหลอกเรา
ขณะที่ fiat ผลิตเม็ดสีสังเคราะห์และวิตามินปลอม ๆ พระอาทิตย์กลับให้ของจริง โดยไม่เรียกเก็บภาษีด้วย
ใครมีเวลา วันนี้เฮียขอชวนไปยืนรับแสงเช้า 10 นาที ไม่ต้องทำอะไร แค่ยืนเฉย ๆ ให้แสงซึมเข้าตา ซึมลงผิว แล้วฟังเสียงเงียบของร่างกายที่กำลังซ่อมแซมตัวเอง เงียบจนเราอาจได้ยินเสียงหัวใจบอกว่า "ขอบคุณนะ ที่ออกมารับแดดกับฉัน" #SundaySpecialเราจะไปเป็นหมูแดดเดียว #pirateketo #ตำรับเอ๋