-
@ HereTong
2025-05-07 01:08:58สัปดาห์นี้ถือว่าเป็นเบรคคั่นพักผ่อนแก้เครียดนิดหน่อยแล้วกันครับ เรามาเล่าย้อนอดีตกันนิดหน่อย เหมือนสตาร์วอส์ที่ฉายภาค 4-5-6 แล้วย้อนไป 1-2-3 ฮาๆๆๆ
เคยได้ยินคำว่า Nuremberg Trials ไหมครับ ย้อนความนิดนึงว่า Nuremberg (Nürnberg อ่านว่า เนือร์นแบร์ก) คือชื่อเมืองในเยอรมนีที่เคยเป็นเวทีพิจารณาคดีประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
“Nuremberg Trials” คือการไต่สวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ อาชญากรรมสงครามของนาซีเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945–46 พันธมิตรผู้ชนะสงครามได้จับตัวผู้นำนาซี นักการเมือง หมอ นักวิทยาศาสตร์ มาขึ้นศาล ข้อหาของพวกเขาไม่ได้แค่ฆ่าคน แต่รวมถึงการละเมิดศีลธรรมมนุษย์ขั้นพื้นฐาน อย่างการทดลองทางการแพทย์กับนักโทษ โดยไม่มีการขอความยินยอม
จากการไต่สวนนี้ จึงเกิดหลักจริยธรรมที่ชื่อว่า “Nuremberg Code” ซึ่งกลายเป็นรากฐานของการทดลองทางการแพทย์ยุคใหม่ หัวใจของโค้ดนี้คือคำว่า “Informed Consent” แปลว่า ถ้าจะทำอะไรกับร่างกายใคร ต้องได้รับความยินยอมจากเขาอย่างเต็มใจ และมีข้อมูลครบถ้วน นี่แหละ คือบทเรียนจากบาดแผลของสงครามโลก
แต่แล้ว...ในปี 2020 โลกก็เข้าสู่ยุคที่ใครบางคนบอกว่า “ต้องเชื่อผู้เชี่ยวชาญ” ใครกังวล = คนไม่รักสังคม ใครถามเยอะ = คนต่อต้านวิทยาศาสตร์ การยินยอมโดยสมัครใจ เริ่มกลายเป็นแค่คำเชิงสัญลักษณ์
ในช่วงหลังนี้เราอาจจะได้ยินข่าวหรือทฤษฎีในอินเตอร์เนทเกี่ยวกับคำว่า Nuremberg 2.0 กันนะครับ เพราะเริ่มผุดขึ้นตามกระทู้เงียบ ๆ คลิปใต้ดิน และเวทีเสวนาแปลก ๆ ที่ไม่มีใครอยากอ้างชื่อบนเวที TED Talk ซึ่ง กลุ่มที่ใช้คำนี้มักจะหมายถึงความต้องการให้มีการ “ไต่สวน” หรือ “เอาผิด” กับนักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การออกคำสั่ง การบังคับ การเซ็นเซอร์ข้อมูลที่ขัดแย้งกับแนวทางรัฐ การเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่โปร่งใส พวกเขามองว่า นโยบายเหล่านั้นละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับที่เปรียบได้กับ “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” จึงเสนอแนวคิด “Nuremberg 2.0”
พวกเขาไม่ได้เรียกร้องแค่ความโปร่งใส แต่เขาอยากเห็นการทบทวน ว่าใครกันแน่ที่ละเมิดหลักจริยธรรมที่โลกเคยตกลงกันไว้เมื่อ 80 ปีก่อน
Nuremberg คือการไต่สวนคนที่ใช้อำนาจรัฐฆ่าคนอย่างจงใจ Nuremberg 2.0 คือคำเตือนว่า “การใช้ความกลัวครอบงำเสรีภาพ” อาจไม่ต่างกันนัก
ทีนี้เคยสงสัยไหม แล้วมันเกี่ยวอะไรกับอาหาร?
เพราะจากวิกฤตโรคระบาด เราเริ่มเห็น “วิทยาศาสตร์แบบผูกขาด” คุมเกมส์ บริษัทเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาทำอาหาร ชื่อใหม่ของเนื้อสเต๊กกลายเป็น “โปรตีนทางเลือก” อาหารจากแล็บกลายเป็น “ทางรอดของโลก” สารเคมีอัดลงไปแทนเนื้อจริง ๆ แต่มีฉลากติดว่า "รักษ์โลก ปลอดภัย ยั่งยืน"
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกนิด บางกลุ่มคนกลับเริ่มเห็นอะไรบางอย่างที่ขนลุกกว่า เพราะมันคือ “ระบบควบคุมสุขภาพ” ที่อาศัย “ความกลัว” เป็นหัวเชื้อ และ “วิทยาศาสตร์แบบผูกขาด” เป็นกลไก
จากนั้น…ทุกอย่างก็จะถูกเสิร์ฟอย่างสวยงามในรูปแบบ "นวัตกรรมเพื่ออนาคต" ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมชนิดใหม่ เนื้อสัตว์ปลูกในแล็บ หรืออาหารที่ไม่ต้องเคี้ยว
ลองคิดเล่น ๆครับ ถ้าสารอาหารถูกควบคุมได้ เหมือนที่เราเคยถูกบังคับกับบางอย่างได้ล่ะ? วันหนึ่ง เราอาจถูกขอให้ "กิน" ในสิ่งที่ระบบสุขภาพอนาคตเขาบอกว่าดี แล้วถ้าเฮียบอกว่าไม่อยากกิน...เขาอาจไม่ห้าม แต่ App สุขภาพจะเตือนว่า “คุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโลกใบนี้” แต้มเครดิตจะสุขภาพจะลดลงและส่วนลดข้าวกล่องเนื้อจากจุลินทรีย์จะไม่เข้าบัญชีเฮียอีกเลย
ใช่…มันไม่เหมือนการบังคับ แต่มันคือการสร้าง “ระบบทางเดียว” ที่ทำให้คนที่อยากเดินออกนอกแถว เหมือนเดินลงเหว
Nuremberg 2.0 จึงไม่ใช่แค่เรื่องของอดีตหรือโรคระบาด แต่มันเป็นกระจกที่สะท้อนว่า “ถ้าเราไม่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ เราอาจกินซ้ำรอยมันเข้าไปในมื้อเย็น”
อนาคตของอาหารอาจไม่ได้อยู่ในจาน แต่อยู่ในนโยบาย อยู่ในบริษัทที่ผลิตโปรตีนจากอากาศ อยู่ในทุนที่ซื้อนักวิทยาศาสตร์ไว้ทั้งวงการ และถ้าเราหลับตาอีกครั้ง หลายคนก็กลัวว่า...บทไต่สวน Nuremberg รอบใหม่ อาจไม่สามารถเกิดขึ้นอีกต่อไป เพราะคราวนี้ คนร้ายจะไม่ได้ถือปืน แต่อาจถือใบรับรองโภชนาการระดับโลกในมือแทน
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr