-
@ HereTong
2025-04-16 04:11:58ในยุคที่ใครๆ ก็พูดเรื่อง สิทธิเสรีภาพ จะมีใครรู้บ้างว่า สิ่งที่เรากินทุกวัน กลับกำลังเข้าสู่ยุค ไร้สิทธิในการรับรู้ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “GMO 2.0”
ใช่แล้วครับ GMO 2.0 หรือ synthetic biology ไม่ใช่ข้าวโพด BT, ไม่ใช่ถั่วเหลืองต้านยาฆ่าหญ้าแบบเดิม แต่มันคือ “พืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมแบบไม่มีรอยแผล” คือการใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9, TALEN หรือ ZFN เข้าไป “ตัดต่อยีน” ภายในพืช โดยไม่ต้องใส่ยีนแปลกปลอมจากสิ่งมีชีวิตอื่น
ถ้าจำได้ ที่ผมเคยแชร์เรื่องการสร้างหมาป่า Game of Thrones และกำลังทำแมมมอธ อยู่นั่นละครับ CRISPR คือเทคโนโลยีที่เขาใช้ ผมเคยโพสไว้ว่า ผมสนใจเรื่องสัตว์นะ แต่ผมมีเรื่องกังวลควบคู่มาด้วย นี่คือเรื่องที่ผมบอกไว้ครับ
เพราะการสร้างสิ่งเหล่านั้นมันฟังดูดีใช่ไหมครับ? แต่ปัญหาคือ...มันดีจนไม่ต้องถูกเรียกว่า GMO นี่คือกลยุทธ์ใหม่ของอุตสาหกรรมพันธุ์พืช เพราะในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และแม้แต่ญี่ปุ่น กฎหมายไม่ถือว่า CRISPR เป็น GMO ถ้าไม่มีการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่นมาใส่เข้าไป
พูดง่ายๆ คือ “ตัดแต่งยีนจากของตัวเอง ยังไม่เรียกว่า GMO” แต่ผลที่ออกมา... อาจเปลี่ยนทั้งระบบการเติบโตของพืช เปลี่ยนลักษณะอาหาร เปลี่ยนภูมิคุ้มกัน และเปลี่ยนการควบคุมอำนาจในห่วงโซ่อาหารโลก
แล้วการที่ไม่ต้องติดฉลาก ไม่ต้องแจ้งผู้บริโภค นี่คือสาระสำคัญ!!!! เพราะเมื่อมันไม่ใช่ GMO ในทางกฎหมายก็ไม่มี “ภาระในการแจ้งผู้บริโภค” ใครกินพืช CRISPR เข้าไป ก็จะไม่รู้เลยว่า...นี่คือพันธุ์ที่ผ่านการดัดแปลงระดับ DNA มาแล้ว
ลองคิดดูครับว่า นี่เรากำลังถูกดันเข้าสู่ยุคที่ “มะเขือเทศหวาน” หรือ “ข้าวที่แข็งแรงทนแล้งดี” หรือ "พืชที่สะสมโปรตีนวิตามินที่ใส่สารละลายไว้ในตัว" อาจจะผ่านการตัดต่อพันธุกรรม แต่คุณไม่มีทางรู้ เพราะมันไม่มีทางตรวจพบจากฉลาก หรือการทดสอบดีเอ็นเอปกติ
คำถามคือ ใครควบคุม? ใครได้ประโยชน์? คำตอบเหมือนเดิมละครับ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จดสิทธิบัตรไว้ก่อนไง 5555
ในระบบ GMO 1.0 อุตสาหกรรมเคยพยายามผูกขาดพันธุ์โดยใช้สิทธิบัตร แต่ผู้บริโภคยังสามารถรู้และต่อต้านได้ แต่ GMO 2.0 มาแบบ “เงียบกว่า แหลมคมกว่า และควบคุมง่ายกว่า”
ยกตัวอย่างเช่น ข้าวโพด CRISPR จากบริษัท Corteva (เจ้าของเดิมคือ DowDuPont) สามารถสร้างพันธุ์ที่ “โตไว แห้งเร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าเดิม” แต่พันธุ์นี้มีสิทธิบัตรคุ้มครองแบบเบ็ดเสร็จ แถมไม่มีข้อผูกมัดในการแจ้งข้อมูลกับผู้บริโภคด้วย
ในส่วนของความเสี่ยงที่ใครก็ไม่กล้าพูดถึงก็มีอีกนะครับ เช่น -การตัดต่อยีนแม้จะไม่ใส่ยีนใหม่ แต่ก็สามารถเกิด off-target effect หรือผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจได้ -ยีนที่ถูกตัดออกอาจมีหน้าที่สำคัญด้านภูมิคุ้มกันหรือสมดุลภายในพืช ซึ่งส่งผลถึงโภชนาการของผู้บริโภค -การกระจายของพันธุ์ CRISPR โดยไม่ต้องผ่านการควบคุม อาจทำให้พืชดั้งเดิม สูญพันธุ์ทางพันธุกรรม เพราะถูกแทนที่แบบเงียบๆ
แล้วเกษตรกรล่ะ? จะรอดไหม? คำตอบคือ รอดยากขึ้นครับ หรือจะเรียกไม่มีทางรอดดีโหดไปไหม? เพราะ GMO 2.0 ไม่ใช่แค่เรื่องการดัดแปลงพันธุกรรม ถ้ามองภาพกว้างกว่านั้น มองโครงสร้างเลยนี่มันคือการสร้าง “ระบบใหม่ในการผูกขาดพันธุ์” ที่มองไม่เห็น เป็นการล็อกพันธุ์พืชด้วย “สิทธิบัตรโมเลกุล” ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถเซฟพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ เพราะละเมิดกรรมสิทธิ์ ต้องเช่าใช้หรือ subscribe ไปตลอดชีวิต มีหน้าที่แค่หน่วยปลูกเท่านั้น
ขณะที่พันธุ์พื้นบ้านหรือพันธุ์เปิดกลับไม่สามารถแข่งขันกับพันธุ์ดัดแปลงเหล่านี้ได้เลย เพราะถูกออกแบบมาให้ “ตอบโจทย์ตลาด” แต่ไม่ใช่ “ตอบโจทย์ดินฟ้าอากาศจริงๆ” แบบเกษตรวิถีเดิม
แล้วในโลกหลัง GMO 2.0 จะเหลืออะไรให้เราปลูก? นี่ไม่ใช่การต่อต้านเทคโนโลยีนะครับ ทุกคนเข้าใจดีว่าเราต้องเติมโตและมีการพัฒนา แต่คือคำถามเรื่อง สิทธิในการรู้ สิทธิในการเลือก และ สิทธิในการรักษาพันธุกรรมของพืชพื้นบ้าน มันอยู่ตรงไหนก่อน
เพราะเมื่อเราถูกเปลี่ยนพันธุ์แบบไม่รู้ตัว วันหนึ่ง เราอาจต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกปีจากบริษัทเพียงไม่กี่ราย ปลูกอาหารในระบบที่เราควบคุมไม่ได้ และกินอาหารที่ไม่มีใครกล้ารับรองว่า “ดั้งเดิม” จริงหรือเปล่า
ดังนั้นมันจึงถึงเวลาตั้งคำถามใหม่... ว่า real food ของเรายัง real อยู่ไหม?
ในยุคที่แม้แต่มะเขือเทศก็ถูกเปลี่ยนยีน และข้าวโพดก็ถูกออกแบบมาให้เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น แต่ไม่งอกได้อีกเลย คำถามไม่ใช่แค่ “อร่อยไหม” หรือ “หวานแค่ไหน” แต่คือ
“เราเหลือสิทธิ์อะไรกับอาหารที่เราปลูกบ้าง?”
สิ่งนี้มันเกิดขึ้นไปแล้วครับ นี่ยังไม่ได้พูดถึงผลกระทบจากการกิน เพราะมีหลายๆคนแฮปปี้ดี๊ด๊าไปมากมาย กับสตอเบอรี่หวานฉ่ำ เมลลอนหอมฉุย กล้วยใบงาม กินแล้ว "healthyyyyy" อะตรงนั้นผมไม่แย้งแล้วกัน
ซีรีย์นี้เลยให้มองผลของการถูกจองจำครับ กบชอบอาบน้ำอุ่นเสมอ
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก