-
@ HereTong
2025-04-13 08:27:33หากเดินเข้าแผนกผักในซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วเกิดความรู้สึกว่า “บรอกโคลี” กับ “กระหล่ำดอก” หน้าตามันเหมือนกันยังกับแฝดที่คนหนึ่งเป็นเด็กเรียนเก่ง อีกคนเป็นศิลปิน ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะจริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นญาติสายตรงกันเลยล่ะครับ ชนิดที่ว่าเกิดจากต้นตระกูลเดียวกันเป๊ะ ๆ และไม่ได้เกิดจากการหล่นลงมาของเมล็ดพืชจากฟากฟ้าหรือจากการปลุกเสกของเทพธิดาในตำนานไหนทั้งนั้น แต่เกิดจากมือมนุษย์เราเองล้วน ๆครับ
ต้นกำเนิดของพืชทั้งสองนั้นย้อนกลับไปไกลถึง “Brassica oleracea” ซึ่งเป็นพืชผักพื้นฐานริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หน้าตาเมื่อแรกพบก็ไม่ได้หรูหราเหมือนลูกหลานยุคนี้ มันเป็นแค่พืชใบเขียวธรรมดา ๆ ที่ชาวโรมันโบราณเดินผ่านไม่เหลียวหลัง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป มนุษย์เริ่มรู้จักการ “คัดเลือกพันธุ์” (selective breeding) คือการเลือกปลูกต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ แล้วขยายพันธุ์เฉพาะต้นนั้นต่อไป รุ่นแล้วรุ่นเล่า เหมือนการเลือกเพาะลูกหมาที่ฉลาดและขนฟู จนในที่สุดก็ได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา
เช่นในกรณีต้นไม้ต้นนึง ถ้าชาวสวนคนหนึ่งชอบต้นที่มี “ตาดอก” ใหญ่หน่อย ก็จะปลูกมันต่อ ส่วนอีกคนชอบใบที่แน่น ๆ ก็เลือกปลูกต้นแบบนั้นต่อ แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือความเลยเถิดของความหลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น • ถ้าเน้นปลูกส่วนใบได้ คะน้า • ถ้าเน้นปลูกส่วนตาดอกได้ กระหล่ำดอก • ถ้าตาดอกสีเขียวแน่น ๆได้ บรอกโคลี • ถ้าเน้นลำต้นบวม ๆได้ กะหล่ำหัว • ถ้าดอกออกแปลก ๆ คล้ายปะการังได้ โรมานีสโก (Romanesco)
แต่ทุกชนิดที่ว่ามานั้น…เป็น “สายพันธุ์ย่อย” ของพืชชนิดเดียวกัน คือ Brassica oleracea ทั้งหมด!
พูดให้เข้าใจง่ายคือบรอกโคลีไม่ได้มาจากพระเจ้า แต่มาจาก “การขยี้ย้ำในลักษณะ จนเป็นการเล่นแร่แปรพันธุ์ของเกษตรกรในยุคโรมัน” ที่ทำกันจริงจังจนกลายเป็นผักจานหลักบนโต๊ะอาหารเราทุกวันนี้
สิ่งที่น่าสนใจอีกคือ บรอกโคลีกับกระหล่ำดอกยังคงกลิ่นกายทางพันธุกรรมเดียวกันอยู่ แม้หน้าตาจะต่าง แต่ DNA ก็คล้ายกันมาก พอ ๆ กับพี่น้องที่ชอบกินของไม่เหมือนกัน แต่มาจากบ้านเดียวกัน
จริง ๆ แล้วพืชตระกูล Brassica พวกนี้แหละ ที่มีสารสำคัญชื่อ Glucosinolate เป็นเหมือนกับนักเคมีของพืช ที่มีสูตรลับไว้ป้องกันตัวเองจากแมลง กลูโคซิโนเลตบางชนิด (เช่น goitrin) อาจรบกวนการดูดซึมไอโอดีน ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ เลยเรียกสิ่งนี้ว่า เป็น anti-nutrient ที่เราเคยได้ยินกันครับ
ถึงตรงนี้ ใครที่ชอบกินผักเหล่านี้ก็น่าจะรู้สึกภูมิใจว่ากำลังกิน “ผลผลิตจากภูมิปัญญามนุษย์” ที่ไม่แพ้การสร้างปิรามิดหรือเครื่องจักรไอน้ำเลย เพราะการคัดเลือกพันธุ์อย่างละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลาการย้ำปลูกเป็นร้อยปี และไม่ได้ใช้วิทยาศาสตร์ล้ำยุคอะไรเลย แค่ใช้ใจและมือเปล่าของชาวสวนรุ่นแล้วรุ่นเล่า
สรุปแล้ว บรอกโคลีและกระหล่ำดอก ไม่ใช่ของจากสวรรค์ แต่เป็นของจาก “ความพยายาม” ที่ยิ่งใหญ่พอ ๆ กับการสร้างอารยธรรม พระเจ้าอาจไม่ได้สร้างมัน…แต่มนุษย์เราก็เก่งพอที่จะเป็น “พระเจ้าแห่งผัก” อยู่เหมือนกันนะครับ 555
pirateketo #โรงบ่มสุขภาพ #HealthyHut #ตำรับเอ๋ #siripun