-
@ HereTong
2025-04-12 02:40:22เริ่มจากบรอกโคลี แล้วขยายผลไปสู่ระดับโลก
หลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกา ตกอยู่ในสภาพ “จนหนี้หัวโต” ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจหรือปัญหาสภาพภูมิอากาศ แล้วใครกันล่ะเข้ามาช่วย?
ชื่อที่ได้ยินบ่อยคือ IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) World Bank (ธนาคารโลก) WTO (องค์การการค้าโลก) FAO (องค์การอาหารและการเกษตรของ UN)
ฟังดูเหมือนองค์กรการกุศล แต่เบื้องหลังคือกลไกที่ “แลกข้าวกับกฎหมาย” โดยเฉพาะเมื่อประเทศยากจนขอเงินกู้หรือขอเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลงการค้า พวกเขาจะถูก “บังคับกลายๆ” ให้ต้องแก้กฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับ UPOV 1991
ตัวอย่างชัดๆ กันครับเช่น 1. แอฟริกาใต้ / กานา / เคนยา ถูกกดดันจาก World Bank ให้ปรับกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ไม่งั้นจะไม่อนุมัติเงินช่วยเหลือสำหรับเกษตรกรรมและการศึกษา 2.ฟิลิปปินส์ / เวียดนาม / อินโดนีเซีย ต้องรับเงื่อนไข UPOV 1991 เพื่อเข้า FTA กับ EU หรือสหรัฐฯ ถ้าไม่ยอม? ข้าว ข้าวโพด หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ จะเข้าไปขายไม่ได้ 3.เม็กซิโก เคยต่อสู้กับ Monsanto เรื่องสิทธิในการปลูกข้าวโพดดั้งเดิม แต่สุดท้ายโดน “ตีท้ายครัว” ด้วย FTA กับสหรัฐที่ฝัง UPOV 1991 มาแบบแนบเนียน
ปี 2561 รัฐบาลบางประเทศพยายาม “รีบแก้กฎหมายพันธุ์พืช” ให้สอดคล้องกับ UPOV 1991 เพื่อปูทางเข้าสู่ CPTPP ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคที่มีประเทศร่ำรวยอยู่เต็มไปหมด
ข้อเรียกร้องจาก CPTPP คือ -ต้อง ห้ามเกษตรกรเก็บพันธุ์ไว้ใช้ซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต -ต้อง คุ้มครองพันธุ์พืชที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอกชน 20-25 ปี -ต้อง เปิดทางให้บริษัทต่างชาติเข้ามาจดทะเบียนพันธุ์พืชในประเทศได้โดยง่าย
เสียงค้านจึงดังกระหึ่มจากเกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม นำโดยเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน กลุ่มรักษ์พันธุ์ข้าว จนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นต้องออกมาประกาศ “พักเรื่องนี้ไว้ก่อน” แต่ถึงวันนี้... ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าจะ “ล้มเลิกโดยสิ้นเชิง”
รู้หรือไม่ว่า บริษัทพันธุ์พืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกไม่ใช่คนปลูกข้าว แต่มาจาก “บริษัทยา” และ “บริษัทเคมี”!!!
Bayer (เยอรมนี) ที่ควบรวม Monsanto Corteva (สหรัฐฯ) แยกตัวจาก DowDuPont Syngenta (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ตอนนี้เป็นของบริษัทจีน ChemChina
3 บริษัทนี้ครองตลาดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) และพันธุ์ลูกผสมทั่วโลก และผลักดัน UPOV 1991 แบบดุดันผ่านองค์กรเช่น ISF (International Seed Federation)
องค์กรเหล่านี้พวกเขาไม่ได้ปล้นด้วยปืน แต่ใช้ สัญญา พวกเขาไม่ได้เผาไร่ แต่ “จดสิทธิบัตร” สิ่งที่ไม่ควรเป็นของใคร และสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ใช่แค่ข้าวโพดหรือถั่วเหลือง แต่คือ “สิทธิในการออกแบบอาหารทั้งโลก” ในแบบที่คนตัวเล็ก... ต้องจ่ายค่าเช่ากินข้าว ทุกปี ตลอดชีวิต
จากปัญหาเหล่านี้ก็เลยเกิดแนวคิดที่เรียกว่า Seed Sovereignty ซึ่งมองว่าเมล็ดพันธุ์เป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ ไม่ควรถูกครอบครองแบบผูกขาด และเกษตรกรควรมีสิทธิในการ
-เก็บเมล็ดพันธุ์ -แลกเปลี่ยน -ปรับปรุง -ใช้งานซ้ำ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครตอนต่อไปเรามาคุยเรื่อง UPOV 1991 กันครับ
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก