-

@ Somnuke
2025-02-21 11:44:41
วิธีแก้ปัญหาข้าวของแพง?
แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ - ❌❌❌
แก้ค่าถ่วงน้ำหนัก - ✅✅✅
https://image.nostr.build/41aa2831faf0975ba3fb274f0a543f007993020ff2fc83dc3421fd4700dbf653.jpg
นี่คือเบื้องหลังของตัวเลขเงินเฟ้อต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
ต้นปีนี้ สินค้าในหมวดอาหาร พลังงาน ค่าเช่าและราคาบ้าน ในเมกาปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกันพรวดๆ รวมถึงร้านอาหารก็แห่ปรับราคาตาม
พ่อพระแก้ไขปัญหาโดยการ ปรับลด "ค่าถ่วงน้ำหนัก" ลง เพื่อให้ของแพงเหล่านั้น มีผลต่อตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) น้อยๆ
ค่าถ่วงน้ำหนักที่ถูกปรับในรอบล่าสุด:
1. ปรับลด เช่น
- หมวดเนื้อสัตว์ต่างๆ และไข่ -7%
- หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลฯ -14%
- หมวดผักผลไม้ -4%
2. ปรับขึ้น
- หมวดอาหารเบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว +14%
- หมวดซีเรียลและเบเกอรี่ +12%
หลอกผู้คนว่าสบายใจได้ ไม่มีอะไรแพงขึ้นทั้งนั้น แม้ว่าความเป็นจริง ผู้กำลังโอดโอยกับค่าครองชีพที่พุ่งทะยานขึ้นไม่หยุด ซึ่งสินค้าบางหมวดฝรั่งถึงกับใช้คำว่า Skyrocket
เช่น ไข่พุ่งสูง 15.2% จากเดือนที่แล้ว โหลนึงปาไป 300 กว่าบาท (พุ่งเกิน 50% เมื่อเทียบกับปีก่อน แพงขึ้นเกือบ 3 เท่าใน 3 ปี)
นอกจากการปรับค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละหมวดที่มีปัญหาแล้ว เนื้อในยังมีการปรับเปลี่ยนสินค้ารายตัวและค่าถ่วงน้ำหนักซ้ำซ้อนเข้าไปอีก
เช่น ลดค่าถ่วงน้ำหนัก เนื้อ ที่แพง แล้วไปเพิ่ม หมู ไก่ หรือปลา ที่ถูกกว่าแทน และหากตัวไหนเหิมเกริม พุ่งไม่หยุดฉุดไม่อยู่เกินไป มันจะถูกพิจารณา "นำออก" จากตะกร้าในการคำนวณไปเลย
และตัวเลขค่าถ่วงน้ำหนักหมวดอาหาร ถูกปรับลดลงเรื่อยๆ แทบทุกปี จนข้อมูลล่าสุด ปี 2025 เหลือแค่ 13%
หมายความว่า สินค้าหมวดอาหาร กระทบกับค่าครองชีพผู้คน เพียง 13% ของรายได้เท่านั้น สมเหตุสมผลดีมั้ยครับ?
ปรับไปปรับมาจนได้ตัวเลขที่พอใจ ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือน ม.ค. 25 เทียบกับเดือนก่อน เท่ากับ 0.5% และเทียบปีที่แล้ว เหลือเพียง 3%
CPI ดัชนีตอแหลผู้บริโภค
#Siamstr