-
@ HereTong
2025-04-10 01:47:24เมื่อวานโพสเรื่องบรอกโคลีฝีมือมนุษย์แล้ว มีคนสงสัยว่าตกลงมันดีไหม เวลาพูดถึงอาหารสุขภาพ ภาพที่ลอยมาในหัวของหลายๆ คนคงหนีไม่พ้น "บรอกโคลีลวก" สีเขียวสดใส เสิร์ฟคู่ไข่ต้มขาวๆ หรืออกไก่นุ่มนิ่มในกล่อง meal prep แต่ก่อนจะตักเข้าปาก เราลองตั้งคำถามง่ายๆ ก่อนว่า… “บรอกโคลีเกิดขึ้นในธรรมชาติไหม?” คำตอบคือ ไม่ เลยครับ
บรอกโคลีไม่ได้เกิดจากการงอกงามของเมล็ดในป่า หรือเติบโตตามชายเขาเหมือนพืชสมุนไพรหรือผลไม้ดั้งเดิม แต่มันคือพืชที่มนุษย์ สร้างขึ้นมา ผ่านการคัดสายพันธุ์อย่างตั้งใจให้ได้รูปร่าง กลิ่น สี และรสชาติที่ต้องการ โดยมีจุดเริ่มต้นจากพืชตระกูลเดียวกันกับ “มัสตาร์ดป่า (wild mustard)” ซึ่งเป็นพืชที่แทบไม่มีใครกิน มนุษย์ใช้วิธีเลือกต้นที่มีลักษณะ “หัวดอกใหญ่” มาเพาะซ้ำๆ จนกลายเป็นบรอกโคลี ในขณะที่พืชอีกกิ่งสายพันธุ์จากต้นเดียวกัน กลายร่างไปเป็น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า และใบมัสตาร์ด
ฟังไม่ผิด ทั้งหมดนี้คือ “ญาติกัน” จากพืชป่าต้นเดียวกัน และเป็น ผลผลิตของการทดลองจากมนุษย์ ไม่ใช่ธรรมชาติ มันคือ “ของใหม่” ที่เราเพิ่งรู้จักในช่วง 100–150 ปีหลังนี้เอง
แล้วอะไรที่ทำให้บรอกโคลีกลายเป็นอาหารสุขภาพ? หนึ่งในคำตอบคือ ภาพลักษณ์ (branding) บรอกโคลีถูกผลักดันในยุคหลังสงครามโลกโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อโปรโมท “การกินผักเพื่อสุขภาพ” และเป็นพืชที่ปลูกง่าย อดทน ขนส่งสะดวก
อุตสาหกรรมอาหารก็โหนกระแส ผนวกกับงานวิจัยที่เลือกตีแผ่ “ประโยชน์เฉพาะด้าน” ของสารบางตัวอย่างเช่น ซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ที่ได้จากกลูโคซิโนเลต (glucosinolate) ในบรอกโคลี ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นเอ็นไซม์ล้างพิษในตับ
แต่นั่นเป็นแค่ด้านเดียวของเหรียญ…
บรอกโคลียังมีสารในกลุ่มเดียวกันนี้ที่ ต่อต้านการดูดซึมไอโอดีน ทำให้ไทรอยด์เฉื่อยได้ในบางคน ยังไม่รวมถึงความยากในการย่อย ก่อแก๊สในลำไส้ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในกลุ่มคนที่ระบบภูมิคุ้มกันไวเกิน นอกจากนี้ที่บอกไปแล้วว่า มันไม่ใช่ธรรมชาติ เราเลยไม่สามารถพบบรอกโคลีได้ในป่า มันต้องเกิดจากการปลูกเท่านั้น นั่นแน่ ตาสีส้มเริ่มทำงาน
บรอกโคลี “ไม่มีเมล็ด” แบบธรรมชาติ เพราะมันไม่ได้เกิดจากธรรมชาติแท้ๆ แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเราปลูกมันไม่ได้เพราะ “เมล็ดของบรอกโคลีมีนะ แต่เป็นเมล็ดที่ได้จากต้นพันธุ์ที่มนุษย์คัดแยกและควบคุมการผสมพันธุ์มาแล้ว”
บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลก อย่าง Monsanto, Syngenta, Bayer ฯลฯ จะพัฒนาเมล็ดที่ผ่านการผสมสายพันธุ์แบบ "F1 Hybrid" ซึ่งหมายความว่าเขาจะเอาพ่อแม่พันธุ์เฉพาะที่คัดเลือกไว้ มาผสมกันเพื่อให้ได้ลูกบรอกโคลีที่มีลักษณะตรงตามต้องการ เช่น ดอกแน่น สีเขียวเข้ม โตเร็ว ต้านทานโรค เมล็ดบรอกโคลีจึงเป็น เมล็ดลูกผสมรุ่นแรก (F1) ซึ่งเกษตรกร ไม่สามารถเก็บเมล็ดจากต้นบรอกโคลีที่ปลูกไว้เอง แล้วปลูกต่อได้ เพราะถ้าเอาไปปลูกใหม่รุ่นถัดไป (F2) ลักษณะจะเริ่มแปรปรวน แตกแถว ดอกเล็กลง หรือกลายพันธุ์ ดังนั้น ทุกปี เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดใหม่จากบริษัทผู้ผลิต ซึ่งนี่แหละคือระบบ seed monopoly หรือ เศรษฐกิจผูกขาดพันธุ์พืช ที่ควบคุมโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ เอาไว้จะมาขยายความมุมนี้ให้อีกทีครับ
ส่วนเรื่องสารอาหารความอาหารคลีนเค้าว่าดี ต้องมาเคลียร์ mind set กันอีกทีในนี้ คือในโลกของพืชนั้น การเอาตัวรอดไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะพวกมันวิ่งหนีไม่ได้ ไม่มีกรงเล็บ ไม่มีเสียงคำราม มีแค่ “เคมี” เป็นอาวุธ และในกลุ่ม Brassica oleracea หรือพวกบล็อกโคลี กระหล่ำดอก กระหล่ำปี คะน้า ฯลฯ พวกมันเลือกใช้อาวุธลับที่ชื่อว่า glucosinolate และ goitrogen เป็นด่านหน้าในการรับมือสิ่งมีชีวิตที่มากินมัน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงมนุษย์ด้วย
สารพวกนี้เมื่อถูกเคี้ยว ถูกตัด หรือโดนความร้อน จะเปลี่ยนเป็นสารชื่อ isothiocyanate ซึ่งหลายงานวิจัยมองว่าสามารถกระตุ้นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และลดความเสี่ยงมะเร็งได้ แต่ในขณะเดียวกัน... มันก็สามารถ “ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุสำคัญ” อย่างไอโอดีน สังกะสี เหล็ก และแคลเซียมได้ด้วย โดยเฉพาะหากกินดิบ หรือกินปริมาณมากเป็นประจำ
ลองนึกภาพตามแบบขำๆ ว่า เรากินผักเพราะคิดว่ามันมีธาตุเหล็ก แต่ตัวมันเองกลับมี “แม่กุญแจเคมี” ที่ล็อกไม่ให้เหล็กดูดซึมได้จริง เหมือนพาเด็กไปสวนสนุกแล้วล็อกไว้ไม่ให้เล่นเครื่องเล่นอะไรเลย
นี่ยังไม่รวมถึง oxalate และ lectin ที่แฝงอยู่ในผักบางกลุ่ม ซึ่งสามารถจับกับแร่ธาตุจำพวกแคลเซียมหรือแมกนีเซียม และพาออกจากร่างกายไปทางลำไส้แบบไม่แยแสว่าเรากำลังขาดมันอยู่
คำถามคือ... แล้วคนที่กินสาย animal-based ซึ่งได้แร่ธาตุจากตับ ไข่แดง เนื้อแดงอยู่แล้ว จำเป็นต้องเสี่ยงกับผักที่มี anti-nutrient สูงแบบนี้ไหม?
คำตอบอาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมาเหมือนสูตรยำปลากระป๋อง แต่ถ้าจะตอบในแนวระมัดระวังและตั้งอยู่บนหลักการชีววิทยา คือ “หากจะกินผักกลุ่มนี้ ควรกินในปริมาณที่พอดี และต้องผ่านการปรุงที่เหมาะสม” เช่น ลวก ต้ม หรือนึ่ง เพื่อสลายฤทธิ์ของสารเหล่านั้นลงไปให้ได้มากที่สุด
และที่สำคัญที่สุดอย่าเชื่อว่าผักมีแต่คุณเสมอไป เพราะในขณะที่แร่ธาตุจากเนื้อสัตว์มาพร้อมเอนไซม์ช่วยดูดซึมและไม่มีตัวขัดขวาง แร่ธาตุจากพืชกลับต้องฝ่าด่านสารยับยั้งมากมายที่ซ่อนอยู่
การกินแบบ animal base ที่เน้นเนื้อ เครื่องใน ไข่ น้ำมันดี และหลีกเลี่ยงน้ำตาล เป็นทางเลือกที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญในรูปแบบที่ดูดซึมได้เต็มที่ ไม่ต้องพึ่งพาการเล่นปาหี่ของเคมีพืชที่คอยยับยั้งการดูดซึม เพราะสุดท้าย ถ้าเรามองอาหารเป็นเหมือนบทสนทนา ผักบางชนิดอาจจะพูดว่า “ฉันดีนะ กินฉันสิ” แต่ลึกๆ แล้ว มันกำลังพูดภาษาสารพิษที่เราแปลไม่ออก
แต่ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า เวลาเราพูดเรื่องนี้ไม่ใช่ว่า plant = toxic คือมันมีความพอดี มีกระบวนการบางอย่างที่เราต้องสกัดมันออกมาใช้งาน เหมือนไทยโบราณเรารู้ดีว่า พืช สมุนไพร ยา มันคือเส้นทางการใช้พืชจากความรู้ของมนุษย์ ดังนั้น มองพืชเป็น option ของสารพฤกษะ สารสำคัญ ได้นะครับ ไม่ต้องหัวสี่เหลี่ยมขนาดว่า เห้ย พืช กูไม่เอาเว้ย อะไรขนาดนั้นนะทิด
สารพฤกษะไม่ใช่วิตามิน ไม่ใช่แร่ธาตุ แต่เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ป้องกันตัวเองจากศัตรูพืช รังสี UV หรือเชื้อจุลินทรีย์ เรารู้จักชื่อพวกนี้อยู่ไม่น้อย เช่น
กลูโคซิโนเลต (glucosinolate) จากตระกูลกะหล่ำ ไลโคปีน (lycopene) จากมะเขือเทศ เรสเวอราทรอล (resveratrol) จากองุ่น ซาโปนิน (saponin) และ เลคติน (lectin) จากธัญพืชและถั่ว
สารพฤกษะมีหลายหมื่นชนิด และในบางกรณีมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) หรือ ปรับภูมิคุ้มกัน จึงถูกจัดเป็นสารส่งเสริมสุขภาพ (nutraceutical) ได้ในบางมุม แต่ต้องระวัง... เพราะสารพฤกษะบางชนิดก็คือ "สารต้านสารอาหาร" (anti-nutrient) บางครั้งสิ่งที่เป็น “เกราะป้องกัน” ของพืช ก็กลายเป็น “กับดัก” สำหรับร่างกายเรา เช่น ไฟเตต (phytate) จับแร่ธาตุจำพวกเหล็ก สังกะสี ทำให้ร่างกายดูดซึมไม่ได้ ออกซาเลต (oxalate) สะสมในไตและอาจก่อให้เกิดนิ่ว กลูโคซิโนเลต ไปยับยั้งการดูดไอโอดีน ส่งผลต่อการทำงานของไทรอยด์ เลคติน ทำลายผนังลำไส้และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกินจำเป็น
สารพฤกษะ คือ "ลูกเล่น" ทางชีววิทยาของพืช ที่อาจจะมีประโยชน์บ้าง ถ้าได้รับในปริมาณน้อย และในบริบทที่ร่างกายจัดการได้ แต่ถ้ามากเกิน หรือรับสะสมจากอาหาร plant-based ตลอดเวลา โดยไม่มีอาหารจากสัตว์มาคานสมดุล ก็อาจสร้างปัญหาเงียบๆ ระยะยาว
จะดีก็ฟงหวิน จะเลวก็ฟงหวิน พอเห็นภาพแล้วเนอะครับ
พรุ่งนี้เราจะขุดลงไปลึกอีกหน่อย กับเบื้องหลังของพืชพันธุ์ ที่ "เขา" บอกว่าทำเพื่ออาหารที่ดีของโลกครับ
#pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก