-

@ HereTong
2025-04-03 17:41:20
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols)
เป็นสารประกอบที่พบในพืชและมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคลอเลสเตอรอล (Cholesterol) ของมนุษย์ แต่ไฟโตสเตอรอลไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนคลอเลสเตอรอลในร่างกายครับ ไฟโตสเตอรอลมีบทบาทสำคัญในการลดการดูดซึมคลอเลสเตอรอลจากอาหารในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ไฟโตสเตอรอลได้รับการส่งเสริมว่าเป็นสารที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายคนไม่ได้ตั้งข้อสงสัยคือวิธีการโฆษณาและการตลาดนั้นจะแฝงไปด้วยข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับไฟโตสเตอรอลซึ่งอาจนำไปสู่การเสพสารนี้ในปริมาณมากเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือเปล่า? เราลองมาค่อยๆตั้งคำถามกันครับ
ไฟโตสเตอรอลในธรรมชาติจะพบในปริมาณที่ค่อนข้างน้อยในพืชต่าง ๆ เช่น ธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืช อย่างไรก็ตาม ปริมาณไฟโตสเตอรอลในธรรมชาติเป็นเม็ดเป็นผลจะอยู่ในระดับต่ำมาก เช่น ในเมล็ดแฟลกซีด (flaxseed) จะมีไฟโตสเตอรอลอยู่ประมาณ 1,000–2,000 ppm (parts per million)
ขณะที่น้ำมันรำข้าวที่มักถูกโฆษณาว่ามีไฟโตสเตอรอลสูงถึงหลักหมื่น ๆ ppm เช่น 12,000 ppm หรือบางยี่ห้ออาจสูงกว่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่สูงจนน่าสรรเสริญ แต่ยังเป็นการขยายความสำคัญของไฟโตสเตอรอลในทางที่ตอบสนองต่อการตลาดได้ในวงกว้างเสียด้วย
กระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าวนั้นเริ่มต้นจากการสกัดน้ำมันจากรำข้าว โดยมีการใช้เทคนิคการกลั่นน้ำมันที่สามารถช่วยให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพสูง น้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันที่มีไฟโตสเตอรอลสูงเพราะรำข้าว (bran) ซึ่งเป็นเปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าวนั้น มีไฟโตสเตอรอลอยู่ในปริมาณสูงตามธรรมชาติอยุ่แล้ว ในกระบวนการสกัดน้ำมันนั้น ตัวไฟโตสเตอรอลจะถูกรักษาไว้ โดยไม่ต้องเติมเข้าไปใหม่ ดังนั้น เมื่อโฆษณาน้ำมันรำข้าวว่า "มีไฟโตสเตอรอลสูงถึง 12,000 ppm" สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเติมสารเพิ่มเข้ามาหรอกครับ แต่เป็นการยืนยันถึงความ "เข้มข้น" ของไฟโตสเตอรอลที่มีอยู่ในน้ำมันรำข้าวตามธรรมชาตินั่นละครับว่ามันกลั่นมาเข้มข้นขนาดไหน มากกว่าการกินจากธรรมชาติขนาดไหนเพื่อให้เรากินกันนั่นเอง
ถึงแม้ว่าไฟโตสเตอรอลจะถูกส่งเสริมให้เป็นสารที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด แต่การโฆษณาและการตลาดเกี่ยวกับไฟโตสเตอรอลนั้นอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีไฟโตสเตอรอลสูง จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นและลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะซึ่งสิ่งนี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากงานวิจัยที่สามารถยืนยันได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาบางชิ้นเช่นกันที่พบว่า การบริโภคไฟโตสเตอรอลในปริมาณสูงอาจ "ไม่ได้มีผล" ในการลดระดับคลอเลสเตอรอลที่น่ามหัศจรรย์หรือช่วยลดการเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ตามที่โฆษณาเอามาขยายความกัน ซึ่งแน่นอนหละครับว่า ถ้าจะทำสงครามวิจัย มันย่อมไม่จบสิ้นเพราะทุกฝ่ายมีการวิจัยสนับสนุนในแบบ peer review ทั้งนั้น ไม่ต้องไปเป็น member อะไรที่ไหน (ถ้าเราไม่คิดจะอ่านมันเอง)
ไฟโตสเตอรอลมีหลายประเภทที่พบในพืชและน้ำมันพืชแต่ละชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและผลกระทบต่อร่างกายที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทหลักที่พบได้บ่อยในธรรมชาติ แต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนการบริโภคตามประเภทมันไปครับ
-บีตาสติโรล (Beta-Sitosterol) เป็นไฟโตสเตอรอลที่พบมากในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะในเมล็ดพืช ถั่ว และน้ำมันพืช บีตาสติโรลได้รับความนิยมในวงการสุขภาพเนื่องจากการศึกษาบางชิ้นพบว่ามันสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยการลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารในระบบย่อยอาหาร แต่การบริโภคบีตาสติโรลในปริมาณสูงอาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน A, D, E และ K ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดวิตามินเหล่านี้ในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การบริโภคบีตาสติโรลในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านระบบฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาฮอร์โมนเพศหรือระบบสืบพันธุ์
-แคมป์สเตอรอล (Campesterol) เป็นอีกหนึ่งไฟโตสเตอรอลที่พบในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะในน้ำมันพืชและผักผลไม้ แคมป์สเตอรอลมีโครงสร้างที่คล้ายกับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และมันได้รับการศึกษาว่ามีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การบริโภคแคมป์สเตอรอลมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการดูดซึมสารอาหารบางประเภท เช่น วิตามินที่ละลายในไขมัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหาร หรือผู้ที่มีปัญหาการดูดซึมสารอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือการดูดซึมสารอาหารไม่เต็มที่ได้ นอกจากนี้ การบริโภคแคมป์สเตอรอลในปริมาณสูงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
-สแตกิโอรอล (Stigmasterol) เป็นไฟโตสเตอรอลชนิดหนึ่งที่พบมากในพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง และน้ำมันถั่วเหลือง สแตกิโอรอลได้รับการศึกษาในแง่ของการลดการอักเสบและการช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด แต่การบริโภคสแตกิโอรอลในปริมาณสูงอาจมีผลเสียต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศได้เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ การบริโภคไฟโตสเตอรอลชนิดนี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติในระยะยาว รวมทั้งความเสี่ยงต่อการมีบุตรหรือสุขภาพที่ไม่ดีเกี่ยวกับระบบฮอร์โมน
ไฟโตสเตอรอลประเภทอื่น ๆ ที่พบในพืชและน้ำมันพืช ได้แก่ อะฟิตเตอร์ออล (Afitosterol) และซิตรัสเตอรอล (Citrusterol) ซึ่งมักพบในน้ำมันจากพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันดอกทานตะวัน การบริโภคไฟโตสเตอรอลเหล่านี้ในปริมาณที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาด้านระบบย่อยอาหาร หรือปัญหาการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารได้ นอกจากนี้ การบริโภคไฟโตสเตอรอลประเภทอื่น ๆ ในปริมาณสูงยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนและการทำงานของร่างกายในระยะยาว เช่น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน หรือการทำงานของตับ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการบริโภคในปริมาณสูง ดังนั้น ควรระมัดระวังในการบริโภคไฟโตสเตอรอลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายในระยะยาว
สิ่งที่จริงแล้วอาจเป็นอันตรายมากกว่า คือ การที่ผู้บริโภคตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีไฟโตสเตอรอลสูงในปริมาณมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว อาจมีผลกระทบต่อการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามิน A, D, E, K ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน การดูดซึมของวิตามินเหล่านี้อาจถูกยับยั้งไป เนื่องจากไฟโตสเตอรอลสามารถแข่งขันกับคลอเลสเตอรอลในร่างกายในการดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคไฟโตสเตอรอลในปริมาณสูงที่อาจไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผลเสียจากการบริโภคไฟโตสเตอรอลมากเกินไปไม่ได้จำกัดเพียงแค่การแย่งสารอาหาร แต่ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภคไฟโตสเตอรอลในปริมาณสูงอาจกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในบางกรณีไฟโตสเตอรอลอาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญ และอาจทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติในการตอบสนองต่อสารแปลกปลอมที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ข้อโต้แย้งที่สำคัญคือลักษณะการโฆษณาของน้ำมันรำข้าวและผลิตภัณฑ์ที่มีไฟโตสเตอรอลสูงนั้น ไม่ได้สะท้อนความจริงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ การใช้ไฟโตสเตอรอลในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเน้นที่ปริมาณที่สูงเกินจริงนั้น เป็นวิธีการตลาดที่ใช้บอกเป็นนัยกับผู้บริโภคให้เข้าใจว่าการบริโภคสารเหล่านี้จะช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริง ไฟโตสเตอรอลไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพพื้นฐานอย่างการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การโฆษณาดังกล่าวก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของประกาศและกฎหมายต่างๆอยู่ดี ผู้บริโภคจึงควรหาความรู้สนับสนุนการเลือกด้วยตัวเอง ว่าจะตัดสินใจอย่างไร
การที่ไฟโตสเตอรอลมีโครงสร้างที่คล้ายกับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้มันสามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ได้คล้ายคลึงกับคอเลสเตอรอล แต่แตกต่างกันตรงที่ไฟโตสเตอรอลไม่สามารถทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ หรือทำหน้าที่ในระบบร่างกายได้เหมือนคอเลสเตอรอล การที่ไฟโตสเตอรอลแทรกซึมเข้าไปในเซลล์จึงเป็นแค่การสามารถช่วยป้องกันการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารในระบบย่อยอาหารได้ ซึ่งจะทำให้นี่เป็นสาเหตุของการทำให้ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้ พูดง่ายๆคือมันไปแซงคลอเลสเตอรอล อะครับ
นอกจากนี้ ไฟโตสเตอรอลยังสามารถไปแข่งขันกับคอเลสเตอรอลในการเข้าเซลล์ผ่านตัวรับ LDL (low-density lipoprotein receptor) ซึ่งเป็นตัวรับที่ช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ ดังนั้น เมื่อไฟโตสเตอรอลแทรกซึมเข้ามามากขึ้น ก็จะช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ที่มาจากอาหารลงไปได้ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง โดยการลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด แต่ไฟโตสเตอรอลไม่ได้มีผลโดยตรงในการลดคอเลสเตอรอลที่เซลล์ในร่างกายสร้างขึ้นเอง (endogenous cholesterol) เพราะไฟโตสเตอรอลไม่ได้เข้าไปแทรกซึมและทำงานที่จุดที่เซลล์ผลิตคอเลสเตอรอลในร่างกาย
ร่างกายสามารถผลิตคอเลสเตอรอลได้เอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไฟโตสเตอรอลไม่สามารถไปขัดขวางหรือยับยั้งได้ นั่นหมายความว่า หากร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลในระดับสูง ไฟโตสเตอรอลจะไม่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลที่มาจากการสร้างของร่างกายได้ ดังนั้น ไฟโตสเตอรอลมีประโยชน์ในการลดคอเลสเตอรอลจากอาหาร แต่ไม่ได้ช่วยในการลดคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง
การโฆษณาไม่ได้ให้ข้อมูลในด้านที่ว่า ผลกระทบระยะยาวจากการบริโภคไฟโตสเตอรอลในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยเฉพาะในด้านการดูดซึมสารอาหารหรือความสามารถในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ในความเห็นของผมนั้น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากกว่าคือการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาผลิตภัณฑ์ที่มีการผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอลเข้มข้น หรือสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนจะช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้ดีกว่าแทนที่จะพึ่งพาสิ่งที่โฆษณาบอกไว้ข้างขวด
ไฟโตสเตอรอลอาจมีคุณสมบัติในการลดการดูดซึมคลอเลสเตอรอลจากอาหารในทางทฤษฎี แต่การบริโภคในปริมาณมากเกินไปนั้นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจในข้อมูลที่มีพื้นฐาน และตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะอะไรที่การตลาดตะโกนดังๆว่า ไอ้นี่ดี อันโน้นเยี่ยมยอด อันนี้ที่สุดแห่งความซุปเปอร์ ต่อมเอ๊ะทำงานไว้ก่อน ผิดถูกไม่รู้หาข้อมูลมาโยงเส้นทางแล้วชวนคุยกัน
เช่นเราตั้งคำถามตั้งต้นก่อนไหมว่า จริงๆแล้ว คลอลเสเตอรอล มันต้องกลัวขนาดนั้นเลยหรือ ในเมื่อมันเป็นสารตั้งต้นของชีวิต และเป็นสิ่งจำเป็นในการซ่อมแซมเสริมสร้างร่ายกาย เราต้องลดการดูดซึมด้วยเหรอ