-
@ HereTong
2025-04-08 02:01:29เรื่องมันเริ่มจากมีคนถามว่า ขนมของผมเป็นขนม healthy ใช่ไหมคะ มีคนชื่นชมเยอะเลยจะมาสั่งบ้าง
ผมได้แต่ตอบไปว่า ขนมของผมไม่ใช่ขนม healthy มันเป็นแค่ขนมทางเลือก เป็นอีกทางเลือกนึงของคนที่อยากเลือก
โดยผมจะให้รายละเอียดวัตถุดิบว่ามีอะไร แล้วสารอาหารเป็นประมาณเท่าไร ให้เขาเลือกเอาเอง ผมเลยไม่เคยตอบเลยว่า คนท้องกินได้ไหม คนป่วยเบาหวานกินได้ไหม และผมมักตอบว่า เจ้าตัวควรจะรู้ได้เองเมื่อทราบวัตถุดิบ ว่าตัวเองกินได้ไหม
ผมว่า ผมแม่งโคตรแฟร์ในเรื่องการให้ข้อมูลก่อนซื้อแล้วนะ
มันก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อเราตั้งคำถามกับคำว่า “Healthy” ว่านิยามของมันคือ ดีต่อสุขภาพ หรือ แค่ไม่ทำร้ายสุขภาพ?
ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยคำศัพท์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ที่เอามาช่วยในการขายของนั้น บางครั้งคำว่า “healthy” ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ก็ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรนัก คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้น่าจะหมายถึง “ดีต่อสุขภาพ”
ความหมายของมันอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป และการเข้าใจคำว่า “healthy” นั้นสำคัญยิ่งกว่าที่คิด ถ้าจะให้ถามกันตรง ๆ คือ คำว่า “healthy” จริง ๆ ควรจะหมายถึงอะไร?
“Healthy” หรือ “Not Harmful”? หลายครั้งที่เราพบคำว่า “healthy” ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมสุขภาพ น้ำผลไม้คั้นสด หรืออาหารมังสวิรัติ ซึ่งทุกอย่างนี้อาจจะทำให้เราคิดว่าเป็นอาหารที่ “ดีต่อสุขภาพ” แต่ถ้าลองมองให้ลึกขึ้น คุณอาจจะพบว่า คำว่า “healthy” ที่เราคุ้นเคย อาจหมายถึงเพียงแค่ “ไม่ทำร้ายสุขภาพ” มากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์จริง ๆ ต่อร่างกายหรือเปล่า?
ความแตกต่างระหว่าง “ดีต่อสุขภาพ” กับ “แค่ไม่ทำร้ายสุขภาพ”
อาหารที่เรียกว่า “healthy” ในปัจจุบันบางครั้งอาจจะไม่ได้ดีต่อร่างกายมากเท่าที่คิด เพราะอาจมีส่วนผสมที่ปรุงแต่งมากเกินไป เช่น น้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในน้ำผลไม้คั้นสดหรือขนมที่ผลิตจากแป้งปริมาณมากเกินไป หรือแม้แต่ผ่านกระบวนการแบบ ultra processed ที่พวกนี้บางครั้งมันอาจจะไม่ทำร้ายร่างกายในระยะสั้นทันทีแต่ในระยะยาวอาจจะสะสมผลเสียต่อสุขภาพได้อยู่ดี แต่ถูก bold บางตัวมาชูความ healthy เสียอย่างนั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่ “ดีต่อสุขภาพ” อาหารประเภทนี้ควรจะเป็น อาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งหรือแปรรูปมาก หรือเปล่า? เพราะอาหารเหล่านี้จะให้คุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการ เช่น โปรตีนคุณภาพสูงจากสัตว์ หรือ ผักผลไม้ที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีสารอาหารที่ไม่เพียงแค่ไม่ทำร้ายร่างกาย แต่ยังช่วยเสริมสร้างระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“Not Harmful” ยังไม่พอ แต่อาหารที่แค่ “ไม่ทำร้ายสุขภาพ” ยังไม่เพียงพอที่จะเรียกว่า “healthy” เพราะอาหารเหล่านี้บางตัวอาจจะมีมุมกลับที่ไม่ได้สร้างผลเสียทันที แต่ก็อาจไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายเท่าที่ควรเป็นเช่นกัน การรับประทานอาหารที่แค่ “ไม่ทำร้ายสุขภาพ“ นั้นในระยะยาวอาจไม่ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงจริง ๆ เพราะแค่ ”ไม่ทำร้าย“
“not harmful” ยังไม่ใช่ “healthy” เพราะมันไม่ได้ดีต่อสุขภาพ แต่มันแค่ “ไม่ร้ายแรงทันที” หรือพูดให้ชัดคือ แค่ไม่ทำร้ายสุขภาพเร็วเกินไปนัก เช่น
ขนมที่บอกว่า “ไม่มีน้ำตาล” แต่ยังใช้สารให้ความหวานสังเคราะห์
เครื่องดื่มที่โฆษณาว่า “ลดแคลอรี่” แต่แฝงไปด้วยสารเคมีหรือสารปรุงแต่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ดี
ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า “ใช้ได้สำหรับมังสวิรัติ” แต่เต็มไปด้วยแป้งขัดขาวหรือสารกันบูด หรือแม้แต่อาหารสารพัด ins
หรือแม้แต่อาหารที่หลอกล่อให้กินเกินความต้องการ ชูตัวนึงแต่เนียนไม่บอกอีกตัวนึง เช่นชูโปรตีน แต่เงียบเรื่องคาร์บสูงมาก
แถมบางครั้งมาในความ over claim ดึงสารตัวเล็กๆมาชูภายใต้คำว่า “มี xxxx ดีเพราะช่วยด้าน xxxx” ทั้งที่จะสัมฤทธิ์ผลต้องดื่มเป็นสิบๆแก้ว ซึ่งใช้ไม่ได้จริง
“Healthy” ที่แท้จริง อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงควรเป็นอาหารที่เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายได้รับ สารอาหารที่มีประโยชน์จริง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเต็มที่เช่น • โปรตีนจากแหล่งธรรมชาติ อย่างเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงแบบอิสระ หรือไข่ที่มาจากฟาร์มที่เลี้ยงตามธรรมชาติ • ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันจากสัตว์ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ ไขมันโอเมก้า 3 ที่มาจากปลา หรือไขมันพืชที่มีสัดส่วนโอเมก้า 6 ไม่มากจนไม่สามารถสมดุล โอเมก้า 3 ได้ทัน • ผักผลไม้สดที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะยังพอมีไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายเอาไปใช้งานได้บ้าง แต่ต้องผ่านการลดระดับของ anti-nutrient
หลายครั้งเราเห็นขนม healthy ไม่ว่าจะคลีน วีแกน หรือขนมเคลมความ healthy ต่างๆ คือพอเป็นขนม มันก็จะมีการใช้ “ปริมาณ” บางอย่างให้เรากินมากเกินไป เช่นบางขนมยังเป็นแป้งปริมาณมาก ต่อให้แป้งเทพแป้งสะอาดยังไง ก็กลายเป็นคาร์บย่อยเป็นกลูโคส ต่อให้ย่อยช้าย่อยเร็วก็ย่อยได้หมดอยู่ดี, บางขนมมีปริมาณน้ำตาลมาก ต่อให้ giต่ำแบบมะพร้าว โตนด แต่ปริมาณ ถ้าเกินที่ สธ. มีคำแนะนำ คือ 16กรัมต่อวัน ก็เกมส์อยู่ดี, หรือจะขนมจืดๆแต่ใช้น้ำมันคาโนลา ที่อุดมด้วยโอเมก้า6 หรือ น้ำมันรำข้าวที่มี oryzanol เข้มข้น
หรืออย่างสายคีโต ก็ไม่รอด โอเค โดยรวมมันช่วยเรื่องการไม่กระชากอินซุลิน แต่บางอย่างก็ใช่ว่าจะสามารถเรียก healthy ตามความหมาย เช่น ขนมแป้งอัลมอนด์ มันคือ อัลมอนด์ processed ที่ทำให้เรากินอัลมอนด์มากกว่าเม็ดๆไปได้มาก เพราะมันบดย่อยมาละเอียด ทำให้เรากินมากเกินไป, หลายขนมก็ใช้สารให้ความหวาน ต่อให้อินซุลินไม่พุ่ง แต่มันก็มีผลกับจุลินทรีย์ในลำไส้, แม้แต่พวกครีมชีส ตัวมันเองคือดี แต่การเอาปริมาณมากมาทำขนม มันก็กลายเป็น over consume ได้, อย่างที่ชัดมากคือ ขนมปังวีทกลูเตน ที่แป้งปกติกลูเตนราว 10-14% ถ้าวัดแบบโลฟละ 500กรัมเหมือนๆกัน แป้งธรรมดามีกลูเตนราวๆ 30กรัม ส่วนขนมปังวีทกลูเตนมีกลูเตนราวๆ 190กรัม หรือมากกว่าปกติ 633% แต่นั่นละครับ มัน not harmful (yet)
ดังนั้นในความคิดเห็นของผม ตามเหตุผลที่เรียบเรียงมา เมื่อขึ้นชื่อว่าขนม มันคืออาหารชนิดนึงที่ผ่านกระบวนการมาก จนกลายเป็น processed food ชนิดนึง มันทำให้เรากินเนยมาก กินน้ำมันมาก กินครีมมาก กินน้ำตาล(ทั้งแท้และสังเคราะห์)มาก กินแป้งและ/หรือถั่วบดมาก กินผลไม้มาก กินโยเกิรตมาก กินช็อคโกแลตมาก(ถึงจะ dark100% ก็เหอะ) เพื่อความอร่อย
ขนม เลยไม่ healthy และผมไม่ขอเคลมความ healthy ในสินค้าผม และผมไม่มองว่าขนม healthy ผมมองว่าขนมอร่อย กินเอาอร่อย แล้วไปบาลานซ์ความ healthy องค์รวมเอาในชีวิต ดังนั้น อย่าฝืนกินขนมไม่อร่อยเพียงเพราะเราดันเชื่อว่ามัน healthy หรือ เราอย่าไปซัดโฮกขนมมากๆเพราะเราดันเชื่อว่ามัน healthy
เรามองอาหารยังไง ก็มองขนมอย่างนั้น มองวัตถุดิบที่แปรรูปแล้วกินลงไป ขนม ก็จะเป็นอาหารประเภทนึง
คุณก็เช่นกัน ควรมองของที่กินเข้าไปทั้งหมดเป็นอาหาร แล้วมองอาหารเป็นวัตถุดิบ แล้วพิจารณาวัตถุดิบ+วิธีทำ ว่ามัน healthy กับตัวคุณแค่ไหน มากกว่า healthy ที่แปะบนห่อหรือในโพสขาย
คำว่า “healthy” จริง ๆ แล้วควรจะหมายถึง อาหารที่ไม่ใช่แค่ปลอดภัยจากการทำร้ายสุขภาพ แต่ยังต้องช่วยเสริมสร้างสุขภาพ อย่างแท้จริง อาหารที่ดีต่อสุขภาพควรเป็นอาหารธรรมชาติให้โปรตีนคุณภาพ ไขมันที่มีประโยชน์ ให้คาร์บที่พอเหมาะและมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการในการทำงานที่ดีที่สุด ทั้งซ่อมและสร้าง
“Healthy = ดีต่อสุขภาพในทางบวก ไม่ใช่แค่ไม่ร้าย” “Not harmful = ไม่ร้าย ยังไม่เห็นผลเสีย แต่ไม่ให้คุณในทางบวกขนาดนั้น”
เพราะฉะนั้น มันเลยมีความเกือบจะทับซ่อนกัน ถ้าจะสื่อคำว่า “Healthy” แนะนำให้แปลว่า “อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่แค่ไม่ทำร้ายสุขภาพ“
กับดักที่ใหญ่ที่สุด ที่แม้แต่ชาวคีโตเองก็อาจตกหลุมนั้นแบบไม่รู้ตัว นั่นคือ
ปริมาณ สำคัญกว่า ประเภท
คุณตกหลุมคำว่า อาหาร/ขนม healthy หรือเปล่าหล่ะ คุณเท่านั้นที่ตอบตัวเองได้
จงมองทะลุ food matrix
เจริญพวง neo
pirateketo #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก
ฉลาก3รู้