-
@ SutjaD
2025-02-18 11:41:15" เจอหมีให้แกล้งตาย แต่ถ้าเจอหมีบ่อย ๆ คงเป็นบ้าไปซะก่อน "
มีวันนึง ในยุคดึกดำบรรพ์ เด็กชายซาโตชิผู้รักการเดินป่าเป็นชีวิตจิตใจ แต่วันนี้ต่างออกไปเพราะเขาเห็น หมี ตัวใหญ่ ยืนจังก้าต่อหน้าเขา
" เวรกรรมแล้วไง " ไม่ใช่แค่ซาโตชิที่คิดแบบนี้ เป็นผม หรือคุณ ก็คิดแบบนี้กันหมดนั่นแหละ !!
ม่านตาเบิกโพลงขยาย ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย หลอดลมขยายตัว หัวใจเต้นรัวสั่น กลั้นปัสสาวะ "ระบบซิมพาเทติก" ที่ซาโตชิต้องท่องจำในชั้นเรียน เมื่ออยู่ในสถานการ์ณจริงที่ต้อง " สู้หรือหนี " " เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย " ไม่มีความจำเป็นต้องท่องเลย รับรู้เองได้หมดในเวลานั้น
ทำยังไงดีนะ ซาโตชิ ......
ไม่ว่าซาโตชิจะทำอย่างไร ไม่ว่าซาโตชิจะทำตามตัวอย่างของระบบซิมพาเทติกที่บอกว่าคนสามารถยกตู้เย็นได้ทั้งที่ไม่เคยยกมาก่อน ถ้าซาโตชิเลือกที่จะ " สู้ " โดยการยกหมีโยนลงหน้าผา !!
หรือซาโตชิเลือกที่จะ " หนี " โดยการสับตีนแตก !!
ในการกระทำสองอย่างนี้ มีบางสิ่งที่เหมือนกัน
" เสียพลังงานอย่างมาก " นี่คือสิ่งที่เหมือนกัน
ระบบซิมพาเทติกคูลดาวน์... หยุดทำงาน ซาโตชิเดินป่าต่ออย่างสบายใจ หรืออาจจะกลับบ้าน ก็แล้วแต่ " อา..มันจบแล้วสินะ " ซาโตชิพูดขึ้น
จากยุคดึกดำบรรพ์ สู่ยุคปัจจุบัน เชื้อสายของซาโตชิ ไม่จำเป็นต้องเข้าป่าไปหาของป่า ไปตลาดนัดก็ได้ ตามกลไกตลาดเสรี
ไม่มีความจำเป็นที่ต้องลุ้นว่าจะเจอ หมี อีกต่อไปแล้ว
สโคปมาอีกนิดดีกว่าจริง ๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นหมี หรอกครับ อะไรที่ทำให้สมองเราสื่อว่า สิ่งนี้อันตราย ระบบซิมพาเทติกมันก็ทำงาน...
แล้วความอันตรายในยุคปัจจุบันคืออะไร ? หมีในยุคปัจจุบัน....กลายพันธ์เป็นอะไร ????
น่าอนิจจาครับ ที่ Scenario นี้ ดวงมาตกที่เชื้อสายของซาโตชิ กลับกลายเป็นครอบครัวมีปัญหาครับ ( อาจจะเพราะอะไรก็ได้ เอาว่าระบบเงินเฟียต เงินเฟ้อทำให้คนเป็นบ้าแล้วกัน ) เด็กคนนี้โตมาในสภาพที่พ่อแม่ไม่รัก พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวัน พ่อกับแม่หย่ากัน พ่อติดเหล้า แม่หนีไปมีสามีใหม่ ทุกครั้งที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ทุกครั้งที่พ่อติดเหล้าก็อาละวาด บางครั้งนั่งๆนอนๆทำการบ้านอยู่ดี ๆ พ่อก็เปิดประตูห้องมาในสภาพเมาๆ แล้วชวนทะเลาะ
วันที่สงบหายไปไหนนะ วันที่สงบ กลับถูกแทนที่ด้วยความเครียด
ความเครียด ที่กระตุ้นให้ซิมพาเทติกทำงาน...
พวกคุณเห็นความต่างอะไรมั้ยครับ ซาโตชิเจอหมี ซิมพาเทติกทำงาน สู้หรือหนีหมี แล้วจบ แต่กับเด็กคนนี้ ในสภาพครอบครัวที่เลวร้าย ซิมพาเทติกก็ทำงาน
แต่เขาหนีก็ไม่ได้ สู้ก็ไม่ได้นะครับ...
เออเอาละซิ ทำยังไงดีล่ะ ความเครียดเข้ามาทุกวันอย่างคาดเดาไม่ได้ ระบบซิมพาเทติกก็ทำงานแทบทุกวัน
1 ในอวัยวะที่ต้องจัดการกับความเครียดและซิมพาเทติก คือต่อมหมวกไตครับ ต่อมหมวกไตชั้นนอก มีหลายฟังชั่น.. 1 ในนั้นคือการสร้าง Cortisol มาสู้กับความเครียด ต่อมหมวกไตชั้นใน มีหน้าที่คือการสร้างอดรีนาลีน มาเพื่อใช้กับระบบซิมพาเทติก
" โอ้ย เมื่อยโว้ยยยยยยย " อันนี่ไม่ใช่คำที่เด็กคนนี้พูดอยู่คนเดียวนะครับ ต่อมหมวกไตก็พูด....
ในเมื่ออวัยวะที่ทำให้เรา Handle กับ Stress ได้ มันเมื่อยแล้ว.. เกิดสิ่งที่เรียกว่า " ต่อมหมวกไตล้า "
Stress ที่ไม่สามารถคุมได้ เมื่อนั้นเอง ก็จะเกิดโรคหลายอย่าง 1 ในนั้นคือโรคที่เด็กโตมาในครอบครัวมีปัญหามักจะเป็นกัน " โรคซึมเศร้า "
คงไม่ต้องพูดว่าโรคนี้แย่ยังไง คนทุกคนน่าจะเข้าใจดี เพราะงั้นใจความสำคัญที่ผมต้องการบอกคือ หมีไม่จำเป็นต้องเกิดจากครอบครัวก็ได้ครับ แต่หมีคือสภาพแวดล้อมที่เราต้องเจอมันทุกวันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เป็นหมีที่เลวร้าย หมีที่สู้ก็ไม่ได้ หนีก็ไม่ได้อีก ได้แต่รอระเบิดเวลาว่าต่อมหมวกไตจะล้าตอนไหน
หมีอาจมาในรูปแบบ เจ้านายที่ทำงานขี้วีน เพื่อนสนิทที่ท็อคซิค สามีภรรยาที่คอยพ่นพลังงานลบมาเรื่อย ๆ คุณอาจจะคิดว่า เอ้อ ก็ทนได้แหละ นิดๆหน่อยๆ การขัดแย้งมันไม่ดี เกรงใจเขา ไม่หรอกครับ คุณไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปอยู่กับพลังงานลบแบบนั้น สงสารต่อมหมวกไตตัวเองบ้าง ถ้ามันจะขัดแย้ง ก็ขัดแย้งให้มันจบไปเลย การหาทางออก หาทางแก้ไขในคสพ. เหมือนซาโตชิที่เลือกจะสู้หรือหนีหมีตั้งแต่ตอนนั้น ความเรื้อรังไม่ใช่ทางออกแน่นอน
อย่าเป็นหมีในความสัมพันธ์ของใคร